|
|
|
นอกจากการร่วมงานสงกรานต์เมืองเก่าแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของสุโขทัยเมืองเก่า ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2534 ซึ่งภายในอุทยาน ฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง ศาสนสถาน โบราณสถาน โดยมีคูเมือง กำแพงเมือง และประตูเมืองโบราณล้อมรอบอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส และมีโบราณสถานที่สำคัญอีกมากมาย
ประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว วันที่ 7-8 เม.ย. ของทุกปี
ประเพณีบวชช้างหรือที่เรียกว่า แห่ช้าง อยู่เคียงคู่ผู้คนทีมีสายเลือดไทยพวนมานานแล้ว คือ การนำช้างมาร่วมในพิธีบรรพชาอุปสมบทมาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า พระ เวสสันดรให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์อันเป็นช้างเผือกคู่บารมีที่ชาวเมืองเชตุดรถือว่าเป็นมงคลหัตถีแก่พราหมณ์ทั้ง 8 จากแคว้นกลิงคราษฎร์ที่มาทูลขอเพื่อเป็นมงคลแก่บ้านเมืองที่ประสบทุพภิกขภัย
ความเชื่อนี้เกี่ยวข้องกับอีกตำนานหนึ่ง คือ ตอนที่พระเจ้ากรุงสัญชัย พระราชบิดาของพระเวสสันดรขอให้พระเวสสันดรกลับมาเป็นกษัตริย์ตามเดิมนั้น พระองค์ได้จัดขบวนช้างม้าและรถประดับประดาเหมือนออกศึกสงครามให้สมเกียรติเพื่อไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรีขบวนแห่ขับด้วยมโหรีและการละเล่นต่าง ๆ เป็นการเฉลิมฉลอง
ความเชื่ออีกประการหนึ่ง คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากวิสัยของโลก ได้แก่ พระนิพพาน แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า อุดร หมายถึงทิศเหนือ ซึ่งมีสัญลักษณ์ คือ ช้าง ชาวไทยพวนเรียกสัญลักษณ์ประจำทิศเหนือว่า "โงนงก" คือ ช้างและนำมาเป็นส่วนร่วมในขบวนแห่มาจนทุกวันนี้
ในประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว เราจะได้พบกับความตื่นตาตื่นใจกับขบวนแห่นาคบนหลังช้างกว่า 50 สิบเชือกที่แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงาม
|
|
|
ขบวนบวชช้างบ้านหาดเสี้ยว ที่มีการตกแต่งอย่างงดงาม ทั้งตัวผู้บวช และ ช้าง
|
|
|
|
|
|
ส่วนผู้บวชนั้นจะมีการแต่งการที่สวยงามตามคติความเชื่อ โดยผู้ที่จะบวชและตกแต่งตัวให้อย่างสวยงาม เครื่องแต่งกายของนาคประกอบด้วยผ้านุ่ง ผ้าม่วง ผ้าไหม สวมเสื้อกำมะหยี่หรือเครื่องนุ่งห่มที่แพรวพราว สวมเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น เข็มขัดนาก เพชร พลอย อันมีความหมายถึงความหลงใหลในความงามของทรัพย์ภายนอกและพร้อมที่จะไปแสวงหาทรัพย์ภายใน (อริยทรัพย์) และสวมแว่นดำ มีความหมายว่า ยังเป็นผู้มืด เพราะยังไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ศีรษะสวมเทริด หรือเรียกว่า กระโจม อันเป็นเครื่องทรงของพระอินทร์ และเป็นสัญลักษณ์หงอนนาค กระจกที่ติดสองข้างหูเพื่อไว้สำรวจตัวเอง ระลึกถึงความหลังพร้อมที่จะสละ ประนมมือด้วยแผ่นหรือแป้นวงกลมเรียกว่า "สักกัจจัง" แปลว่า เครื่องหมายแห่งความเคารพ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 นิ้ว ด้ามเป็นรูปพญานาค ถือเครื่องประดับและเครื่องบูชาต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียนเรียกว่า ขันธ์ 5 ร่มที่ใช้กางเป็นร่มใหญ่(สัปทน) มีหลายสี เรียกว่า "จ้อง" หรือ "คันญู" ถือเป็นประเพณีที่งดงามที่ไม่ควรพลาดค่ะ
นอกจากประเพณีบวชนาคของชาวหาดเสี้ยว นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำสาธร ซึ่งเก็บรวบรวมผ้าทอมือลายโบราณของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นจกเก้าลายหาดเสี้ยว ผ้าที่ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องใช้โบราณด้วย นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นทองคำ (ซิ่นไหมคำ) ที่มีอายุกว่าร้อยปี และผ้าซิ่นทองคำที่จัดทำขึ้นมาใหม่ถูกจัดแสดงไว้ให้ชมโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเข้าชมแต่อย่างใด สำหรับนักช้อปที่หลงไหลเสน่ห์ผ้าไทย ท่านสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอลายโบราณที่สวยงาม ในราคาย่อมเยาค่ะ
จากพิพิธภัณธ์ผ้าทองคำสาธร เดินทางสู่ ย่านทองโบราณศรีสัชนาลัย ชมการวิธีการทำทองโบราณที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรใด ๆ ช่วย โดยมีการเลียนแบบจากเครื่องประดับสุโขทัยโบราณ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู รวมไปถึงเครื่องเงินจากฝีมือช่างท้องถิ่นที่ใช้ความประนีตในการทำทุกขึ้นตอน ทำให้ทอง และ เงิน ที่มีค่าทางวัตถุสูงอยู่แล้ว ยิ่งดูสูงค่าขึ้นไปอีก และที่สำคัญงานฝีมืออย่างนี้กลับราคาไม่สูงอย่างที่คิดเลยค่ะ ขาช้อปทั้งหลายไม่ควรพลาดค่ะ
ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย ซึ่งจัดงานระหว่างวันที่ 8-12 เม.ย. ของทุกปี
จัดขึ้นบริเวณอุทยานประวัติสาสตร์ศรีสัชนาลัยและลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไท โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ
|
ภูมิทัศน์ที่งดงามของ อช. ศรีสัชนาลัย และ น้ำตกตาดดาวน้ำตกสวยภายใน อช.
|
|
|
|
|