กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
ค้นพบแนวปะการังใหม่และปลาหายาก

WWF ค้นพบแนวปะการังใหม่และปลาหายาก

      ทีมนักชีววิทยาทางทะเลของ WWF ประเทศไทยค้นพบแนวปะการังใหม่และปลาหายาก 2 ชนิด บริเวณหาดท้ายเหมืองที่ตกค้างการสำรวจและไม่ปรากฏรายงานการสำรวจศึกษาอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานใดมาก่อน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

     ผลจากการสำรวจและประเมินสถานภาพแนวปะการังหาดท้ายเหมือง โดยสำรวจและค้นหาขอบเขตของแนวปะการัง การศึกษาประชาคมปลาในแนวปะการัง รวมทั้งการศึกษาชนิดและสถานภาพของแนวปะการังในบริเวณดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่ 2 บริเวณ ขนาดประมาณ 6.7 ตารางกิโลเมตร คือ บริเวณแนวปะการังหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดท้ายเหมือง และบริเวณแนวปะการังหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ลป. 3 พบว่า

     แนวปะการังทั้ง 2 บริเวณ เป็นแนวปะการังริมฝั่งที่ก่อตัวขึ้นบนพื้นหิน ซึ่งยกตัวสูงขึ้นจากพื้นทะเลเป็นแนวกว้างและมีการกระจายตัวเป็นหย่อมๆ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 8.4% เมื่อคิดเทียบ***ส่วนกับพื้นที่แนวปะการังในทะเลอันดามันทั้งหมด สภาพความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังทั้ง 2 บริเวณมีสภาพตั้งแต่เสื่อมโทรม สมบูรณ์ปานกลาง จนถึงสมบูรณ์ดี องค์ประกอบของแนวปะการังและปริมาณปะการังที่มีชีวิตมีความแตกต่างกันในแต่ละจุด


     สภาพแนวปะการังโดยทั่วไปก่อตัวอย่างหนาแน่นและสมบูรณ์ อยู่บนแนวโขดหินที่ระดับความลึก 7-9 เมตร พบจำนวนชนิดปะการังแข็งไม่น้อยกว่า 30 ชนิด ปริมาณปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่แนวปะการังประมาณ 32-67.75% ปะการังตาย 12-26.5% พื้นทราย 11 -26% พื้นหิน 3-18% สาหร่ายขนาดใหญ่ 5-19% และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ( ฟองน้ำ ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล และพรหมทะเล) 0.3-3%

     ปะการังที่พบมากได้แก่ ปะการังเขากวางโต๊ะ ( Acropora sp.) ปะการังโขด ( Polites lutea ) ปะการังวงแหวน ( Favia sp.) ปะการังดาวเล็ก ( Cyphastrea sp.) ปะการังสมองร่องสั้น ( Platygyra sp.) และปะการังรังผึ้ง ( Goniastrea sp.)


     การสำรวจความหลากหลายของปลาในแนวปะการังพบว่า ปลาไม่น้อยกว่า 112 ชนิด จาก 56 สกุล และ 23 วงศ์ ปลาวงศ์เด่นของแนวปะการังบริเวณนี้ได้แก่ ปลานกขุนทอง ( Labridae) พบ 16 ชนิด ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) พบ 14 ชนิด และปลาผีเสื้อ ( Chaetodontidae) พบ 14 ชนิด โดยปลาในกลุ่มนี้มีความเด่นในด้านจำนวนสมาชิกในวงศ์ ส่วนปลาที่มีความเด่นด้านจำนวนตัวได้แก่ ปลาสลิดหิน ( Pomacentridae) โดยเฉพาะชนิด Neopomacentrus cyanomos ซึ่งมักพบเป็นกลุ่มใหญ่ว่ายอยู่เหนือบริเวณที่มีปะการังก้อนขนาดใหญ่ ส่วนปลานกขุนทอง ( Labridae) และปลาผีเสื้อ ( Chaetodontidae) จะมีความเด่นในด้านความถี่ที่พบ

     ปลาที่พบในแนวปะการังของหาดท้ายเหมืองหลายชนิดมีความน่าสนใจในแง่การแพร่กระจาย และการเป็นชนิดที่ค้นพบใหม่ เช่น ปลานกแก้วหัวโหนกหางริ้ว ชนิด Chlorurus rakaura ที่มีรายงานการพบโดย Randall and Anderson เมื่อปี 1997 ซึ่งเป็นการพบครั้งแรกในประเทศศรีลังกา และเป็นปลาที่ยังไม่เคยมีรายงานการพบอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

     นอกจากนี้ยังมีการพบ ปลาสร้อยนกเขาจุดใหญ่ Plectorhinchus macrospilus ซึ่งมีรายงานการพบโดย Satapoomin and Randall ในปี 2000 ซึ่งพบครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลันและยังไม่มีรายงานการแพร่กระจายในพื้นที่อื่น



โดยคุณ BlackCap [2006-02-24 19:02:52] Bookmark and Share

โดยคุณ Mapper [2006-02-27 12:39:36] #2102 (1/4)
แผนที่ อุทยานแห่งชาติ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
http://www.tripandtrek.com/map/show.php?Category=&No=255
โดยคุณ debby [2006-02-27 18:12:28] #2104 (2/4)
ได้ยินข่าวมาเหมือนกัน
ขอบคุณมากครับ
โดยคุณ ช.ช้าง...น้องโตนแฟนคลับ [2006-03-03 13:17:28] #2113 (3/4)
เดี่ยวไปลองแล้วจะมาบอก
โดยคุณ เจ้านาง ตอนอยากใส่ 2 พีช [2006-03-04 00:27:34] #2115 (4/4)
เจ้านางตามเด็บ กะ ชอ ไปด้วยดิ ปลาจะตายมั๊ยคะ