กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
ขอรบกวนคุณซาไกฯซักนิด

คือว่ารูปดอกหญ้าในกระทู้ "ติดดิน" #00064 ไม่สามารถดูได้แล้วน่ะครับ (ยกเว้นรูปแรก)

..อยากให้นำมาลงอีกน่ะครับ

ดอกดองดึง
โดยคุณ วรเดช Mail to วรเดช [2005-05-11 22:19:09] Bookmark and Share

โดยคุณ นายซาไกทัดดอกฝิ่น. [2005-05-11 22:28:57] #822 (1/9)
ดอกดองดึง ..ดอกนี้เป็นไม้ที่ขึ้นชายรั้วสวนที่บ้านเป็นดอกไม้ฝังใจเพราะเป็นดอกไม้ที่พ่อชอบชี้ให้มองยามเขาออกดอกข้างกระท่อมในสวนตอนเด็กๆๆๆ ยามนี้เห็นมาเติบโตในกระถางมากมายแว่วว่ามีสรรพคุณทางยาด้วยนะว่าใงคุณกุ้ง..
(เดี๋ยวกลับไปดูกระทู้ก่อนนะครับ ขอบคุณมากๆๆครับ )
โดยคุณ นายซาไกทัดดอกฝิ่น [2005-05-11 23:50:18] #825 (2/9)
ผมโพสรูปลงไปไหม่แล้วครับในกระทู้เดิมนั้นละ..ขอบคุณที่ช่วยกันปันสุขนะครับ......ขอบคุณจริงๆๆๆ
โดยคุณ Joyful [2005-05-12 11:58:26] #829 (3/9)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba L.
วงศ์ : Liliaceae
ชื่อท้องถิ่น : ก้ามปู คมขวาน ดองดึง ดาวดึงส์
บ้องขวาน ฟันมหา มะขาโก้ง
Climbing lily, Super lily
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอาฟริกา แต่ได้ นำมาปลูกในเอเชียเขตร้อนทั่วๆ ไป มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงยาว สีเขียวมัน ปลายใบม้วนเข้าและม้วนลง เพื่อช่วยในการเกี่ยว พันกับหลักหรือต้นไม้ ดอกเดี่ยวใหญ่ กลีบดอกบิดเป็นคลื่น เมื่อเริ่มออกดอกจะมีสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบสีแดง สีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดอกแก่ มีกลีบดอก 6 กลีบ ผลมี ลักษณะเป็นฝัก เมื่อฝักแก่จะแตก เห็นเมล็ดสีส้ม ภายในมีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน

ดอกสีเหลืองออกส้มแดงสวยงาม หัวมีลักษณะเหมือนหัวขวาน แต่ในความสวยงามนั้นแฝงไว้ด้วยพิษมากมาย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือต้นดองดึงหัวขวาน ดองดึงเป็นพืชที่ออกดอกในฤดูฝน ดอกสวยงามมาก เมื่อออกดอกผลแล้วต้นจะตาย ส่วนหัวใต้ดินก็จะแตกเป็นต้นใหม่ต่อไปในปีถัดไป บางคนนิยมปลูกดองดึง เนื่องจากสวยงาม แต่ว่าต้องระมัดระวังเพราะในส่วนของเหง้าและเมล็ดจะมีสาร alkaloid ที่เรียกว่า colchicine สูง ซึ่ง colchicine ทำให้เกิดพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (1)


ตัวอย่างผู้ป่วย

หญิงอายุ 28 ปี รับประทานหัวดองดึงเป็นอาหารเพราะเข้าใจว่าเป็นกลอย มีอาการอาเจียน ท้องเสีย หลังจากรับประทานไปได้ 2-3 ชั่วโมง เข้าโรงพยาบาลในวันต่อมา มีอาการขาดน้ำและความดันต่ำวัดไม่ได้ มีไข้ อาเจียนและท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว วันที่ 4 หายใจไม่ได้ หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

(2)
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 ได้มีข่างลงในหนังสือพิมพ์ว่ามีผู้เสียชีวิต เนื่องจากรับประทานหัวดองดึงเข้าไปถึง 3 ราย เพราะเข้าใจผิดคิดว่าหัวดองดึงเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาอาการท้องอืดเฟ้อและปวดเมื่อยตามร่างกายได้ จึงนำไปต้มและนำมารับประทานคนละ 1 แก้ว เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในวัน
รุ่งขึ้น

(3)
คนไข้ เพศหญิง อายุ 21 ปี รับประทานหัวดองดึงต้มขนาด 125 มิลลิกรัม ซึ่งมี colchicine 350 มิลลิกรัม หลังจากรับประทานไปได้ 2 ชั่วโมง ก็เริ่มอาเจียน จากนั้น 8 ชั่วโมงต่อมาก็ถ่ายท้องอย่างแรงเป็นน้ำและท้องเสียตลอดทั้งคืน โดยอาเจียน 25 ครั้ง และถ่ายท้อง 20 ครั้งในคืนนั้นไปโรงพยาบาล เนื่องจากคนไข้มีอาการหมดสติ ขาดน้ำ อัตราการเต้นของหัวใจ 122 ครั้งต่อนาที และความดันโลหิต 95/70 ม.ม. ปรอท อัตราการหายใจ 18 ครั้งต่อนาที แพทย์จึงให้น้ำเกลือ หลังให้น้ำเกลือแล้วผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มเป็น 100/70 ม.ม. ปรอท และอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือ 110 ครั้ง/นาที แต่เช้าวันต่อมาคนไข้หมดสติ
อีกครั้งหนึ่ง วัดความดันโลหิตไม่ได้จึงให้ hydrocortisone hemisuccinate, methoxamine และ noradrenaline 2 วัน หลังจากเข้าโรงพยาบาล คนไข้มีอาการเลือดออกในตาซ้าย และประจำเดือนซึ่งหมดไปในวันที่รับประทานหัวดองดึง กลับมีใหม่อีก 20 วัน ปริมาณเม็ดเลือดขาว 5,000/c.m.m 12 วันหลังจากเข้าโรงพยาบาลก็มีอาการผมร่วง ในวันที่ 23 ผมร่วงหมด 2 เดือนต่อมา จึงเริ่มมีผมงอกใหม่ แต่ยาวอย่างช้าๆ ซึ่งภายในเวลา 5 เดือนยาวได้เพียง 2-3 นิ้ว เท่านั้น

(4)
มีรายงานผู้ที่รับประทานหัวดองดึงและเสียชีวิต 8 ราย ในประเทศศรีลังกา

(5)
มีรายงานอาการพิษของผู้ที่ได้รับสาร colchicine จากหัวดองดึง ว่าผู้ป่วยจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ลำไส้อักเสบ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ คลื่นหัวใจผิดปกติจนวัดไม่ได้

(6-8)
ชาวเผ่า EWE รับประทานใบดองดึง 1.613 กิโลกรัม ทำให้เสียชีวิต

(9)
เมื่อให้หนูกินสาร***ด้วยน้ำในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่าเป็นพิษ

(10)
มีรายงานพบการเสียชีวิตในเด็กที่ได้รับ colchicine ในขนาด 7-11 มิลลิกรัม

โดยคุณ Joyful [2005-05-12 12:00:11] #830 (4/9)
แต่ที่มีประโยชน์ก็มีนะคะ

นอกจากประโยชน์ทางสมุนไพรของพืชชนิดนี้ ซึ่งมีสารอัลคาลอยด์หลายชนิดที่สำคัญคือ โคลชิซีน (Colchicine) ซึ่งมีรายงานว่าสามารถใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ไขข้ออักเสบ มะเร็ง ฯลฯ ดองดึงยังมีดอกที่สวยงามแปลกตา ดองดึงบางพันธุ์มีการนำมาปลูกสำหรับเป็นไม้ตัดดอกที่ส่งออกต่างประเทศในราคาที่สูง จากความหลากหลายของดองดึงที่พบในประเทศไทย รวมทั้งการปลูกดองดึงเพื่อการค้าในต่างประเทศ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์ดองดึงในประเทศไทย ศึกษาการถ่ายละอองเกสรในดองดึงเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างดองดึงที่พบในประเทศไทยกับดองดึงที่เป็นไม้ตัดดอกจากต่างประเทศ และการขยายพันธุ์ดองดึงโดยเทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อเพิ่มจำนวนต้นและผลิตหัวดองดึงในหลอดทดลอง ... จาก www.manager.co.th


ตอนเด็ก ๆ ชอบไปขุดเล่นเหมือนกันค่ะ มีขึ้นใกล้ ๆ ที่ไร่ มักจะโดนพ่อตีอยู่เสมอ โชคดีที่ไม่ได้กินเข้าไปตอนนั้น
โดยคุณ วรเดช [2005-05-12 17:15:45] #834 (5/9)
ผมก็ฝังใจครับ ไปเห็นที่ระยองตอนไปรับน้องใหม่(มหาวิทยาลัย)
แอบขุดกลับมา แต่ปลูกไม่ขึ้นอ่ะครับ (สงสัยต้องรอปีต่อไป)

หลายปีมาแล้วครับ ครั้งที่สองซื้อมาปลูก โดนหมาที่เลี้ยงไว้ขุดเล่นหมดครับ

ครั้งที่สามถึงได้ดอกสมใจ
โดยคุณ อีฟ Mail to อีฟ [2005-11-11 22:04:23] #1795 (6/9)

ขอบคุณมากนะคะที่ให้ความรู้เรื่องดอกดองดึง กำลังต้องการพอดีเลย :
โดยคุณ เด็กสมุทรปราการ [2006-07-06 19:56:55] #3956 (7/9)
ดาวดึงสาวมากค่าแต่มีส่วนน่ากลัวด้วย
แย่จัง
โดยคุณ แลน [2006-07-08 11:00:06] #3967 (8/9)
ดอกดองดึงสวยมาก
โดยคุณ นักเรียนเพาะเลี้ยง [2006-07-15 22:25:15] #4028 (9/9)
อยากได้วิธีสกัดสารโคลชิซินจากดองดึงค่ะ มีใครรู้ไหมคะ