กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
มี Tip & Technic มาฝาก สำหรับคนชอบถ่ายรูป
ช่วงนี้เว็ป เงียบๆ เหงา บวกกะสายฝนปรอยๆ ยิ่งชวนให้เหงากันใหญ่เลย จะสะพายกล้องออกไปใหนก็กลัวเปียก ฟ้าก็หม่น แสงก็ไม่มี หาอะไรมาอ่านแก้เหงากันดีก่า
สำหรับคนที่อยากถ่ายรูปออกมาสวยๆ มีกล้องมีอยู่ในมือ แต่ไม่รู้ว่าไอปุ่มต่างๆ ที่มันมีอยู่แยอะแยะมันใช้ทำอะไรมั้ง
ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนดีก่าคะ ว่าก่อนที่ถ่ายรูปเนี๊ยะ พื้นฐานการถ่ายรูปเค้ามีค่า มาตราฐานอะไรบ้าง
สำหรับคนรู้แล้วก็ทบทวนความรู้แล้วกันนะ

บทความนี้ไม่ได้เขียนเองหรอกค่ะ พอดีเข้าไปในสนุกแล้วพบเข้าก็เลยเอามาฝากเพื่อนๆ หนะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 09:16:52] Bookmark and Share

โดยคุณ G-girl [2006-07-18 09:25:10] #4801 (1/40)
พื้นฐานในการควบคุมกล้องถ่ายภาพ
การปรับค่าแสง หรือที่นักถ่ายภาพรุ่นเก่าๆ เรียกว่า "การตั้งหน้ากล้อง" หมายถึงการปรับให้แสงผ่านเข้าไปกระทบฟิล์มถ่ายภาพ หรือเซนเซอร์รับภาพของกล้องดิจิตอล เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสว่างพอดี ไม่มืดเกินไป หรือสว่างเกินไป การปรับค่าแสง

ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นๆ แล้วว่า การถ่ายภาพก็เหมือนกับการนำเอาแก้วน้ำไปรองน้ำ จะต้องให้น้ำเต็มแก้วพอดี ไม่มากจนล้นแก้ว หรือ น้อยเกินไปจนไม่เต็มแก้ว ซึ่งเหมือนกับการถ่ายภาพที่มีความสว่างพอดี ไม่สว่างมากเกินไป หรือมืดเกินไป การที่จะปรับให้ภาพที่ถ่ายมีความสว่างพอดี ก็จะต้องเปิดรูรับแสง ให้สัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์ เช่น ถ้าใช้ขนาดรูรับแสงกว้าง แสงผ่านเข้าไปได้มาก ก็จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง คือเปิดแล้วปิดเร็ว ถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ คือเปิดอยู่นาน ภาพที่ถ่ายก็จะสว่างมากเกินไป แต่ตรงกันข้าม ถ้าเปิดรูรับแสงเล็ก แสงผ่านเข้าไปได้น้อย ก็จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เปิดรับแสงนานๆ เพื่อให้ได้ภาพที่มีความสว่างพอดี เช่นเดียวกัน
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 09:28:24] #4802 (2/40)
การปรับค่าแสง หรือการตั้งหน้ากล้อง อย่างไรภาพจึงจะมีความสว่างพอดีนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 อย่าง คือ ความไวแสง ของฟิล์ม หรือ ความเร็วในการรับภาพของเซนเซอร์กล้องดิจิตอล ความสว่างของแสงในขณะนั้น ขนาดรูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ ทั้งสี่อย่างนี้จะสัมพันธ์กันหมด ความไวแสงที่ต่างกันก็เหมือนแก้วน้ำที่มีขนาดต่างกัน เช่น ความไวแสงต่ำ เหมือนแก้วน้ำใหญ่ๆ ถ้าความไวแสงสูงขึ้น ก็เหมือนแก้วน้ำเล็กลง ความสว่างของแสง เหมือนกับน้ำจากก๊อกน้ำ ที่ไหลแรงบ้าง อ่อนบ้าง ถ้าแดดจัดก็เหมือนน้ำไหลแรง เวลาที่มีเมฆครึ้ม แสงน้อยลง ก็เหมือนน้ำที่ไหลอ่อน การเปิดรูรับแสง ก็เหมือนกับเปิดน้ำ ถ้าเปิดมากน้ำก็จะไหลแรง เปิดน้ำใส่แก้ว ก็จะเต็มเร็ว ต้องรีบปิด ถ้าเปิดหรี่ๆ น้ำก็ไหลน้อย ต้องเปิดนานกว่าน้ำจะเต็มแก้ว ถ้าใช้แก้วใหญ่ ต้องเปิดน้ำมาก หรือเปิดนานกว่าน้ำจะเต็มแก้ว ใช้แก้วเล็ก จะต้องเปิดน้ำน้อยกว่า หรือปิดเร็ว เป็นต้น

ในกล้องปัจจุบัน จะมีเครื่องวัดแสงในตัว เมื่อตั้งค่าความไวแสงไว้แล้ว ก็จะวัดความสว่างของแสง และบอกว่าถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไร จะต้องปรับรูรับแสงขนาดไหน จึงจะได้ภาพที่สว่างพอดี การปรับหน้ากล้องจะมีทั้งแบบปรับอัตโนมัติ หรือจะวัดแสงปรับตั้งเองก็ได้ ทำให้ได้ภาพที่มีความ
สว่างพอดีเสมอทุกภาพ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 09:32:07] #4803 (3/40)
ทีนี้เรามาดูกันค่ะ ว่าแต่ละค่าเนี๊ยะ ความหมายมันคืออะไร แล้วเราจะปรับมันยังไงดี เริ่มต้นที่
ความไวแสง (ISO)
ความไวแสง คือ ความสามารถในการรับแสงของฟิล์มสำหรับถ่ายภาพ หรือเซนเซอร์รับภาพของกล้อง International Standards Organization ใช้ตัวย่อว่า ISO ตัวเลขความไวแสงจะบอกไว้ทั้งสองอย่าง เช่น ความไวแสง ISO 100/21 หรือ ISO 200/24 เป็นต้น
ความไวแสงของฟิล์มที่สูงๆ จะทำให้รับแสงได้เร็ว เปรียบเทียบกับแก้วน้ำขนาดต่างๆ ความไวแสงสูงก็เหมือนกับแก้วน้ำใบเล็กๆ ส่วนความไวแสงน้อยๆ ก็เหมือนกับแก้วใบใหญ่ๆ เมื่อเอาไปรองน้ำ แก้วเล็ก น้ำจะเต็มเร็ว แต่แก้วใหญ่ต้องเปิดน้ำนานกว่า เพื่อให้น้ำเต็มแก้วพอดี ไม่ล้น หรือพร่อง ภาพถ่ายที่เราถ่ายมาก็เช่นเดียวกันจะต้องได้รับแสงที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ภาพที่มีความสว่างพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ถ้าเราให้กล้องเปิดชัตเตอร์แล้วปิดเร็ว ภาพก็จะมืด ถ้าเปิดนานมากๆ ก็จะสว่างเกินไป เป็นต้น
การปรับความไวแสงอัตโนมัติ (Auto ISO) ช่วยให้ผู้ใช้ที่ถ่ายภาพทั่วๆ ไป มีความสะดวกสบายมาก เพราะไม่ต้องคอยปรับความไวแสงเอง
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 09:46:07] #4804 (4/40)
แล้ว***ค่า ความไวแสง (ISO) เนี๊ยะ มันเป็นยังไงเหรอ
ถ้าเป็นสมัยก่อนเวลาเราไปซื้อฟิล์ม เราก็จะบอกว่าเอา Kodak 100,200 หรือFuji 100,200 ***เจ้า 100 หรือ 200 นั่นละคะ คือค่า ISO หรือความไวแสงนั่นเอง

แล้วเจ้า ISO เนี๊ยะ มันมีค่าอะไรบ้างละ?
สำหรับเจ้าค่าไวแสง เราจะสามารถแบ่งออกได้เป็น
ฟิล์มไวแสงสูง ค่า ISO ก็จะมาก เช่น 400, 800, 1600
พวกไวแสงต่ำ ก็ เช่น 25, 32, 50, 64 เป็นต้น พวกนี้ หายากหน่อย
ส่วนพวก 100, 200 ขอจัดให้เป็นไวแสงปานกลาง ละกันค่ะ พวกนี้หาง่าย เพราะใช้กันโดยทั่วไป
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 09:52:23] #4805 (5/40)
แล้วความไวแสงสูง ความไวแสงต่ำมันให้ภาพต่างกันยังไงละ ?
แล้วมันมีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงหนอ?
สำหรับค่าฟิล์มไวแสงต่ำ
+ ให้ภาพคุณภาพดี คอนราสต์ดี สีสดสวย เนื้อละเอียด ขยายใหญ่แล้วภาพยังคมเนียน
- ต้องการแสงมาก
ส่วนเจ้าค่ะ
ฟิล์มไวแสงสูง
+ แสงน้อยก็สู้ไหว
- ครอนทราสต์ไม่ดี สีสันสู้พวกไวแสงต่ำไม่ได้ เนื้อฟิล์มหยาบ
เริ่มงงยังค่ะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 10:05:43] #4806 (6/40)
แล้วใช้กล้องดิจิตอล เราต้องปรับค่า ISO ด้วยเหรอ
เมื่อเปลี่ยนมาเป็นกล้องดิจิมอน ก็ลอกความคิดนี้มาทั้งดุ้น เพียงแต่จากเดิม ใช้ ฟิล์มในการรับแสง ก็เปลี่ยนมาเป็นเซ็นเซอร์อิเล็คทรอนิคส์ จะเรียก CCD หรือ CMOS หรืออะไรก็แล้วแต่ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเจ้าเซ็นเซอร์ตัวนี้ก็มีค่าความไวแสง(ISO) ทำนองเดียวกันกับฟิล์ม คือ ถ้าค่าISO น้อยก็ไวแสงน้อย ถ้าค่ามาก ก็ไวแสงมาก
นอกจากนี้ เรื่องคุณภาพของภาพก็เป็นไปแบบเดียวกับฟิล์ม คือ
ISO มาก ไวแสงมาก แต่คุณภาพของภาพแย่ มี Noise เยอะ
ISO ต่ำ ไวแสงน้อย แต่คุณภาพของภาพดี ภาพเนียน ไม่มี Noise
เป็นไงค่ะ อ่านแล้วพอเข้าใจขึ้นบ้างมัย เอ หรืองงยิ่งกว่าเดิมหว่า
ได้คำศัพท์เพิ่มมาอีก 2 คำ ไว้ค่อยอธิบายเหนอะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 10:12:24] #4807 (7/40)
เมื่อกี้พูดถึง noise แล้วมันคืออะไร?
หรือเราจะใส่เสียงให้ภาพ อะยังไง เรามาดูความหมายกันดีก่า
1. noise คือ จุด จุด ที่เกิดขึ้นบนภาพ หรือเรียกว่าเป็นความหยาบของภาพ เวลาขยายภาพใหญ่ขึ้น จะสังเกตเห็นร่องรอยเหล่านี้ ภาพจะไม่เนียน ความสวยลดน้อยลงนะค่ะ
2. เพราะ ISO สูงอย่างเดียว จะทำให้ภาพที่ได้ ไม่คมชัด ไม่ละเอียด รวมทั้งสีสรรก็จะเพี้ยนไป จึงจำเป็นต้องปรับ ISO ให้เหมาะกับแสงในช่วงเวลาที่ถ่าย..(รูป)
การตั้งค่า ISO โดยปกติ เราจะตั้งค่าให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี ส่วนเรื่องแสงไม่พอค่อยไปแก้ปัญหากันต่อ เช่น ใช้ขาตั้งช่วย เป็นต้น ขาตั้งมันช่วยยังไง ต้องตามไปดูกันต่อไปค่ะ
ความจริงน่ามีรูปประกอบนะ แต่มะมีอะ ครายช่วยอนุเคราะห์ หน่อยค่ะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 10:18:54] #4808 (8/40)
จบแล้วค่ะ สำหรับปัจจัยที่ 1 พอจะเข้าใจกันบ้างมัยค่ะ

โดยคุณ G-girl [2006-07-18 10:21:09] #4809 (9/40)
จ๊าก แปะผิด คุณกุ้งลบทิ้งให้หน่อย
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 10:35:10] #4810 (10/40)
จบแล้วค่ะ สำหรับปัจจัยที่ 1 พอจะเข้าใจกันบ้างมัยค่ะ

ต่อไปเรามาดูปัจจัยต่อไปกันดีก่าค่ะ

รูรับแสง หมายถึงอะไร?
รูรับแสง ก็คือช่องสำหรับให้แสงผ่านเข้าไปกระทบฟิล์มถ่ายภาพ หรือเซนเซอร์รับภาพของกล้องดิจิตอล เลนส์ทุกตัวจะมีช่องรับแสงหรือบางคนก็เรียกว่ารูรับแสง รูรับแสงนี้ สามารถปรับให้กว้างหรือแคบได้ตามต้องการ โดยปรับที่แหวนปรับขนาดรูรับแสงที่ขอบเลนส์ หรือกล้องรุ่นใหม่ๆ จะมีแป้นปรับจากตัวกล้อง (โดยจะต้องปรับขนาดรูรับแสงที่แหวนปรับรูรับแสงที่ขอบเลนส์ไว้ที่เล็กที่สุดเสมอ) แสงสว่างจะผ่านเข้าไปได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความกว้างหรือแคบของรูรับแสง ถ้าเปิดกว้าง แสงจะผ่านเข้าไปได้มาก ถ้าปรับรูรับแสงเล็ก แสงก็จะผ่านเข้าไปได้น้อยค่ะ

โดยคุณ G-girl [2006-07-18 10:40:38] #4811 (11/40)
ขนาดของรูรับแสงจะบอกเป็นตัวเลขต่างๆ เรียกว่า factor คือเป็นผลลัพธ์จากการนำเอาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูรับแสง ไปหารขนาดความยาวโฟกัสของเลนส์ ผลที่ได้จะเรียกว่าเป็นค่า f stop ตัวอย่างเช่น ความยาวโฟกัสของเลนส์เท่ากับ 50 mm เส้นผ่าศูนย์กลางของรูรับแสงเท่ากับ 30 mm เมื่อนำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของรูรับแสงไปหารความยาวโฟกัส จะได้เท่ากับประมาณ 1.7 ก็จะเขียนว่า f/1.7 ถ้าขนาดรูรับแสงเล็กลงไป ผลลัพธ์จะได้ตัวเลขมากขึ้น เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางของรูรับแสง 10 mm หารแล้วจะได้ประมาณ f/5 เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 mm จะได้เท่ากับ f/10 หรือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 mm จะได้เท่ากับประมาณ f/17 เป็นต้น จะเห็นว่าเมื่อตัวเลขมาก หมายถึงขนาดรูรับแสงเล็กลง ถ้าตัวเลขน้อยคือรูรับแสงกว้าง
ชักงงมัยค่ะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 11:53:10] #4813 (12/40)
แล้วเจ้ารูรับแสงนี้มีค่ายังไง และทำงานยังไงเหรอ?
สำหรับการเปิดรูรับแสงใช้การง่ายๆ ค่ะ
      ถ้ารูรับแสงกว้าง แสงก็จะเข้าได้มาก
      ถ้ารูรับแสงแคบ แสงก็จะเข้าได้น้อย

แล้วก็มาถึงเรื่องที่ทำให้สับสนที่สุด นั่นก็คือเรื่องของค่ารูรับแสง
ขนาดของรูรับแสงมีค่าเป็นตัวเลขกำกับด้วย เรียกว่าค่า F-Stop โดยมีหลักการ คือ
รูรับแสงกว้าง เลขน้อย
รูรับแสงแคบ เลขมาก
ค่ารูรับแสงเนี่ย เค้าจะมีเลขเฉพาะของเค้าเลย ที่เรามักจะเห็น ก็เช่น 5.6, 11, เป็นต้น

เจ้าค่า F เนี๊ยะ จะมีค่ามาตราฐานดังนี้ค่ะ
1. จากค่ามาตรฐานนี้
..., 1.4, 2, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22, ...
ค่าที่เปลี่ยนไปแต่ละค่า หมายถึงแสงผ่านเข้าไปมากขึ้นหรือหรือลดลงแบบเท่าตัว เช่น เดิมตั้งค่าไว้ 5.6 ถ้าเปลี่ยนมาใช้ค่รรูรับแสง 4 หมายถึงรูรับแสงกว้างขึ้นเท่าตัว แสงเข้าได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเปลี่ยนจาก 2 ไปเป็น 2.8 หมายถึงหรี่รูรับแสงลงครึ่งหนึ่ง และแสงผ่านเข้าได้แค่ครึ่งหนึ่งของค่าเดิม
2. ระยะห่างระหว่างเลขแต่ละค่า เราเรียกว่า Stop เช่น เดิมใช้ค่ารูรับแสง 8 พอเปลี่ยนมาใช้ 11 เรียกว่าหรี่รูรับแสงลง 1 stop

รูรับแสงกว้าง ทำให้แสงผ่านเข้าไปได้มาก ถ้าเปิดรับแสงนาน ภาพที่ได้ก็จะสว่างเกินไป แต่ถ้าใช้ขนาดรูรับแสงเล็ก และเปิดรับแสงโดยใช้เวลาน้อยๆ คือ ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ก็จะได้ภาพที่มืดเกินไป ดังนั้น การใช้ขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะต้องให้สัมพันธ์กัน เมื่อเปิดรูรับแสงกว้าง ก็จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง คือเปิดแล้วปิดเร็ว แต่ถ้าใช้ขนาดรูรับแสงเล็ก ก็จะต้องเปิดรับแสงนานมากขึ้น เพื่อให้ภาพที่ถ่ายมามีความสว่างพอดี นั่นเอง
โดยคุณ นายซาไกทัดดอกฝิ่น [2006-07-18 12:34:38] #4814 (13/40)
ขอบใจจะน้อง ก้อย อ่านนามแฝง น้องก้อยแล้วนึกเลยเถิดไปทุกที่เลยอะ G-girl ...นึกไปถึง จี.......ทุกทีน่า 555555
โดยคุณ .แบมบู. [2006-07-18 13:01:02] #4815 (14/40)
ดีมากน้องรักทฤษฎีแน่นแล้วต่อไปก็เหลือมุมมอง ของภาพ
ชัดตื้นชัดลึก ช่ายปล่าว แล้วก็กล้องตัวใหม่ 5555
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 13:21:39] #4816 (15/40)
จี อาราย นา.... พี่ซาไก
เรื่องมุมมอง ชัดตื้นชัดลึกเนี๊ยะ พอหาได้ค่ะ น้าแบม แต่กล้องตัวใหม่เนี๊ยะ ยังขาดปัจจัยอยู่
กะลังหา นายทุนอยู่ ครายอย่าเผลอละ

มาเข้าเรื่องกันต่อดีก่า.. วันนี้โดดงานสักวัน เถอะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 13:34:10] #4817 (16/40)
รู้ไปแล้ว 2 ปัจจัย ทีนี้มาปัจจัยสุดท้ายค่ะ ความเร็วชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์ หมายความว่าอะไร?
กล้องถ่ายภาพทุกตัว จะมีม่านสำหรับกันแสงสว่างเข้าไปกระทบฟิล์มถ่ายภาพ หรือเซนเซอร์รับภาพของกล้องดิจิตอล ก่อนที่จะถ่ายภาพ เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ ม่านชัตเตอร์ก็จะเปิดให้แสง (คือภาพที่จะถ่าย) ผ่านเข้าไปกระทบฟิล์ม หรือเซนเซอร์รับภาพ และปิดตามเวลาที่กำหนดไว้ เราเรียกว่า "ความเร็วชัตเตอร์" คือช่วงเวลาในการที่ม่านชัตเตอร์เปิดรับแสงแล้วปิด จะใช้เวลานานมากน้อยเท่าไร
ตัวเลขเวลาที่บอกความเร็วจะใช้เป็นวินาที และเศษส่วนของวินาที เช่น บนแป้นบอกตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ เลข 1 คือ 1 วินาทีเต็ม ตัวเลข 2 คือ 1/2 วินาที ตัวเลข 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250, 500 เหล่านี้ก็คือ 1/4, 1/8, 1/15, 1/30, 1/60, 1/125 , 1/250 และ 1/500 วินาที ที่เขาไม่เขียนบอกเต็มๆ ก็เพราะเนื้อที่มีน้อยไม่มีที่จะเขียนให้เต็มๆ ได้ กล้องที่บอกความเร็วชัตเตอร์ในจอ LCD ก็จะบอกเช่นเดียวกัน นอกจากกล้องดิจิตอลเล็กๆ มีเนื้อที่ให้เขียนตัวเลขบอกความเร็วชัตเตอร์ได้มาก ก็จะเขียนเต็มๆ ให้รู้ คือ 1/60, 1/125 หรือ 1/250 ถ้าตัวเลขบอกความเร็วชัตเตอร์เปิดนานมากกว่า 1 วินาที ก็จะมีเครื่องหมายรูปฟันหนูอยู่ด้วย เช่น 2", 4", 8", 15" หรือ 30" ตัวเลขเหล่านี้ก็คือ 2 วินาที , 4 วินาที , 8 วินาที, 15 วินาที หรือ 30 วินาที เป็นต้น
โดยคุณ G-girl [2006-07-18 13:46:25] #4818 (17/40)
แล้วมันมีผลกับภาพยังไงละ เจ้าความเร็วชัตเตอร์ เนี๊ยะ
เวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการ คือ
1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที
2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น
เวลาเปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์ให้ทราบ

โดยคุณ G-girl [2006-07-18 13:53:45] #4819 (18/40)
เป็นไงค่ะ ทฤษฎีจบละ ง่ายๆ เองใช้ม่า แค่ปรับ 2-3 เอง
แต่ทุกตัวมันก็ปรับแต่ความมืด-สว่าง ของภาพ แล้วจะปรับอะไรตอนใหนละ
      แล้วเห็นในกล้องมีปุ่มตั้งแยอะแยะ มันใช้ทำอะไรได้บ้างละ


อะ พี่ๆ มือโปรทั้งหลายช่วยตอบหน่อย
โดยคุณ debby [2006-07-18 16:00:51] #4821 (19/40)
แจ๋วมากครับ
โดยคุณ Moo_Pink [2006-07-18 19:31:15] #4822 (20/40)
ขอบคุณค่ะ นั่งอ่านๆ

อิ อิ


ความรู้เพียบๆ
โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-07-18 20:41:36] #4826 (21/40)
กรี๊ด...จารย์แม่ มาเอง...
ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์แม่...
โดยคุณ Lighthouse [2006-07-18 20:48:39] #4827 (22/40)
โย้...ขอบคุณครับ
แด่วมาตอบมั่งนะ...ไปทำรูปประกอบก่อน
โดยคุณ ตะโก [2006-07-18 21:39:40] #4830 (23/40)
ขอบคุณครับ อ่านจนตาลาย เอามาอีกนะครับ
โดยคุณ G-girl [2006-07-21 14:25:12] #4863 (24/40)
ถามพี่ๆ มือโปรไปตั้งหลายวันมะมีครายมาตอบเยย
มะเป็งราย ตอบเองก็ด้าย

หลังจากรู้หลักการพื้นฐานกันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนยังงงอยู่ใช่ม่าว่าจะเซ็ตอะไรตอนใหน
ขอยกตัวอย่างเป็นกรณีๆ ไปละกันนะคะ ครายมีอะไรงงยังไง ก็ถามมาละกัน จะได้กระจ่างกันมากขึ้น
ส่วนครายมีรูปก็ โพสน์มาดูเป็นตัวอย่างด้วยนะ จะได้เรียนกันสนุกๆ ไม่จำเป็นต้องเน้นสวยค่ะ แค่เอาให้ตรงหลักการก็พอ เพราะเราไม่ใช่โปร ไว้เรียน Advance แล้วค่อยเอามือโปรมาลงเน๊อะ

โดยคุณ debby [2006-07-21 14:49:43] #4864 (25/40)
อยากช่วยตอบเหมือนกัน
แต่งงกับคำถามอ่ะครับ

>>> แต่ทุกตัวมันก็ปรับแต่ความมืด-สว่าง ของภาพ แล้วจะปรับอะไรตอนใหนละ
แล้วเห็นในกล้องมีปุ่มตั้งแยอะแยะ มันใช้ทำอะไรได้บ้างละ

อ่านแล้วยังงงๆอยู่ว่า จะถามว่าอะไร
งั้นเอาอย่างที่คุณ G บอกละกัน
ใครมีปัญหาอะไรก็ลองทิ้งคำถามไว้นะครับ ถ้าตอบได้จะช่วยตอบให้ครับ
โดยคุณ G-girl [2006-07-21 16:42:33] #4895 (26/40)
เดี๋ยวนะ Server พัง ไปแก้ Server ก่อน ถ้ามีชีวิตรอดกลับมาจะมาโพสต่อ
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 11:31:40] #4945 (27/40)

เอาเป็นว่ายกตัวอย่างเป็นกรณีไปแล้วกันนะค่ะ เอาแบบง่ายๆ ก่อนละกัน
อย่างรูปนี้เราต้องปรับอะไรอย่างไรดี
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 11:49:51] #4947 (28/40)
     จากรูปตัวอย่างเราจะเห็นนะคะ ว่าวัตถุของเรากำลังเคลื่อนที่อยู่ และสิ่งที่เราต้องการก็คือ หยุดวัตถุให้หยุดนิ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำในการถ่ายรูปนี้คือ
      1. เราต้องการ หยุดวัตถุที่เราจะถ่ายให้อยู่นิ่งมากที่สุด แต่เราคงจะหยุดให้นกมันอยู่ในท่านี้ไม่ได้แน่ๆ เลยใช่ม๊า แต่เราสามารถตั้งกล้องของเราให้สามารถ เก็บภาพเฉพาะช่วงเวลานี้มาได้ค่ะ
     และจากทฤษฎี ที่ได้กล่าวไปแล้วเราจะรู้เรื่องของ ความเร็วชัดเตอร์ หรือ S แล้วใช่ม๊า ถ้าใครลืมลองย้อนขึ้นไปอ่านใหม่นะ ว่าถ้าความเร็วชัตเตอร์ยิ่งเร็วเท่าไร เราก็จะสามารถหยุดการสั่นไหวของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่วัตถุได้มากเท่านั้น
     และจากรูปนี้จุดประสงค์หลักของเราก็คือการหยุดวัตถุให้อยู่นิ่งว เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงก็คือ ค่า S หรือค่า Speed shutter หรือ ค่าความเร็วชัตเตอร์ นั่นเอง ค่ะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 12:09:46] #4948 (29/40)
แล้วเราจะเซ็ตค่ามันยังไงดี
     จากที่ได้กล่าวไปแล้วนะคะ ว่า S เนี๊ยะ มีหน่วยเป็นวินาทีซึ่งยิ่งSpeed ชัตเตอร์สูง เท่าไรก็ยิ่งหยุดวัตถุให้อยู่นิ่ง และลดการสั่นไหวของภาพได้ดีเช่นกัน ฉะนั้นในการถ่ายภาพนี้เราจึงเน้นการตั้งค่า S หรือ ความเร็วชัตเตอร์ ให้สูง
ตัวอย่างเช่น 1/400, 1/800 ขึ้นไป เป็นต้นค่ะ
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 14:27:21] #4955 (30/40)
2. ปรับปริมาณแสง ให้พอดี เนื่องจากภาพนี้เราต้องการหยุดวัตถุให้ภาพเป็นหลัก เราจึงตั้งค่า S เป็นหลักเพื่อให้วัตถุหยุดนิ่ง แต่เมื่อเราได้ตั้งค่า S ไปแล้วปริมาณแสงจะยังไม่พอดีซึ่งภาพอาจจะมืดไป หรือสว่างไป ปัจจัยที่จะช่วยเราในการปรับค่าความสว่างของภาพต่อไปที่เราจะคำนึงถึง ก็คือ ค่ารูรับแสง หรือF นั่นเองคะ
ซึ่งถ้าปริมาณแสงน้อยไปเราจะทำการปรับค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อให้แสงเข้าไปยังเซ็นเซอร์ ได้มากขึ้น

3. เมื่อเราได้ปรับค่ารูรับแสงจนกว้างสุดแล้ว แต่ปริมาณแสงยังไม่เพียงพอ สิ่งที่จะช่วยเราเพิ่ม-ลด ปริมาณแสงปัจจัยต่อไปก็คือ ค่าความไวแสง หรือ ISO นั่นเอง ซึ่งการปรับค่า ISO นั้น ก็จะมีผลทำให้ ตัวเซ็นเซอร์รับภาพไม่ความไวต่อแสงมากขึ้นก็จะทำให้ภาพสว่างมากขึ้น
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 14:31:17] #4956 (31/40)

      การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ และความสามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง 1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่นิ่ง แต่ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามากขึ้นเรื่อยๆ ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง ในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงขนาดช่องรับแสงและปริมาณแสงที่มีในขณะนั้นด้วย ไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ตามใจได้ ยกตัวอย่างเช่น หากถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยมากๆ แต่ต้องการจับการเคลื่อนไหวของวัตถุจึงตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ทำให้ปริมาณแสงที่ตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ไม่เพียงพอ แม้จะสามารถจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ แต่ภาพที่ได้จะมืดทำให้เป็นภาพเสียแทน ผู้ใช้จึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงในขณะนั้นทุกครั้งที่เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ด้วย (ดูจากสเกลเครื่องวัดแสงก็ได้)

      เป็นไงค่ะอ่านแล้วพอเข้าใจกันบ้างมั๊ยค่ะ
มีข้อสงสัยอะไรสอบถามได้ค่ะ เผื่อตกหล่น หรืออาจจะเขียนไม่ค่อยชัดเจนตรงใหนค่ะ
โดยคุณ debby [2006-07-24 14:53:42] #4957 (32/40)
เยี่ยมมากกกกกก
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 15:00:36] #4961 (33/40)
อิอิ ขอบคุณค่ะ พี่เด็ป พอดีถามคำถามงง ไปหน่อยก็เลยต้องตอบเอง (แล้วก็ไม่บอกว่า ถามไม่รู้เรื่อง )

แล้วเดี๋ยวจามาโพสน์ตัวอย่างต่อไปนะ
ครายอยากรู้แบบใหนถามมาละกันค่ะ แต่ไม่ต้องถึงขั้น Advance นะ เดี๋ยวครูตอบมะได้
โดยคุณ G-girl [2006-07-24 15:16:03] #4964 (34/40)
อ๋อ พี่เป็ด อ่านแล้วเข้าใจปล่ะ

ถ้าไม่เข้าใจ เดี๋ยวให้คุณกุ้งสอนใหม่

วันหลังถ่ายรูปอย่าลืมดูนะ ว่า S เท่าไหร่ F เท่าไร
5555555555555
โดยคุณ Ducky [2006-07-24 17:42:06] #4967 (35/40)
ฉันรู้เรื่องแล้วยะ
โดยคุณ Mr. Flintstone [2006-07-24 22:36:11] #4974 (36/40)
แล้ว F-Stop ไว้ใช้ตอนไหนคับ
ปกติใช้แต่ P , P*
โดยคุณ debby [2006-07-25 12:26:20] #4998 (37/40)
F stop ไว้รอคุงคู G มาเลคเชอร์ต่อนะครับ
เพราะเท่าที่อ่านดู ยังไม่จบหลักสูตรแค่นี้
ต้องมีมาต่ออีกแน่ๆเลย

คุงคู G ขึ้นทู้ใหม่เลยดีกว่านะครับ
ทู้นี้มันยาวแระ
โดยคุณ G-girl [2006-07-25 13:52:09] #5001 (38/40)
ช่วงนี้งานหลวง รุมเร้า ค่ะ ครายว่าง เลคเชอร์ แทนก็มะว่า

มะต้องเกรงใจ
โดยคุณ debby [2006-07-25 15:22:38] #5003 (39/40)
ส่งลิงค์มาสิครับ
เดี๋ยวไปโพสต์ให้
โดยคุณ chin [2006-07-27 20:40:30] #5108 (40/40)
มาเล็คเชอร์คร้าบมาต่อเร้ว