กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
การประกวดศิลปกรรมเอกลักษณ์อันดามัน
การประกวดศิลปกรรมเอกลักษณ์อันดามัน
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

จุดประสงค์
การประกวดศิลปกรรมเอกลักษณ์อันดามัน เป็นการประกวดผลงานศิลปะร่วมสมัยที่สะท้อนให้เห็นถึง แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมโดยรวมของกลุ่ม ๖ จังหวัดภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยผลงานจะต้องประกอบไปด้วยความคิดสร้างสรรค์มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ตลอดจนเปี่ยมไปด้วยความสุนทรียภาพทางศิลปะ

ผลงานศิลปะร่วมสมัยที่จัดการประกวดมีจำนวน ๖ สาขา ได้แก่
๑. จิตรกรรม
๒. ผ้าบาติกสำหรับเครื่องแต่งกาย
๓. การแกะสลักหนัง
๔. การออกแบบผลิตภัณฑ์
๕. เครื่องประดับ
๖. ภาพถ่าย *

๑. จิตรกรรม
๑.๑ ขนาด กว้าง x ยาว ไม่ต่ำกว่า ๑.๒๐ เมตร และไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร
๑.๒ เทคนิค,วัสดุ สามารถใช้วัสดุได้ไม่จำกัด ยกเว้นกรรมวิธีบาติกหรือเขียนเทียน
๑.๓ การนำเสนอ ใส่กรอบพร้อมติดตั้ง

๒. ผ้าบาติกสำหรับเครื่องแต่งกาย
๒.๑ ขนาด หน้ากว้างไม่ต่ำกว่า ๓๖ นิ้ว (๑ หลา ) และความยาวขนาด ๑๔๔ นิ้ว ( ๔ หลา )
๒.๒ เทคนิค,วัสดุ พื้นฐานบาติก ลายเขียนบนผืนผ้า โดยไม่จำกัดวัสดุของผ้าวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการผลิต
เครื่องแต่งกาย
๒.๓ การนำเสนอ เป็นผืนผ้า ขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า ๓๖ นิ้ว( ๑หลา) และความยาวขนาด ๑๔๔ นิ้ว ( ๔ หลา )

๓. การแกะสลักหนัง
๓.๑ ขนาด กว้าง x ยาว ไม่ต่ำกว่า ๔๐ x ๖๐ ซม. และไม่เกิน ๙๐ x ๑๒๐ ซม.
๓.๒ เทคนิค,วัสดุ ทำจากหนังวัวหรือหนังควายเท่านั้น ภาพแกะสลักหนังจะต้องมีการลงสี ไม่มีขน หากมี
การต่อต้องไม่เห็นรอยต่อ
๓.๓ การนำเสนอ ใส่กรอบพร้อมติดตั้งแสดง

๔. เครื่องประดับ
๔.๑ ขนาด ไม่จำกัดขนาด แต่ต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะการใช้สอย
๔.๒ เทคนิค,วัสดุ เป็นของที่ระลึก ซึ่งใช้วัสดุในท้องถิ่น ที่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเช่น พืช
พรรณเป็นธรรมชาติในท้องถิ่น อาทิ กะลามะพร้าว หวาย ย่านลิเพา ใบเตย ไม้ไผ่
ใบลำเจียก ใบปาหนัน ใบตาล ซากสัตว์ อาทิ ก้างปลา หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ดิน
หิน เซรามิค ฯลฯ
๔.๓ การนำเสนอ ตามลักษณะการใช้งาน

๕. เครื่องประดับ
๕.๑ ขนาด ไม่จำกัดขนาด แต่ต้องมีความเหมาะสมตามลักษณะการใช้สอย
๕.๒ เทคนิค,วัสดุ สามารถใช้วัสดุไดไม่จำกัด และต้องมี***ส่วนของโลหะผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
๕.๓ การนำเสนอ เป็นเครื่องประดับจำนวน ๑ ชุด มีจำนวน ๓ ชิ้น ( ต่างหู ๑ คู่ นับเป็น เครื่องประดับ
๑ ชิ้น ) โดยเครื่องประดับทั้ง ๓ ชิ้นจะต้องมีแนวคิดเดียวกันทั้งชุด พร้อมกล่องเก็บผลงาน

๖. ภาพถ่าย *
๖.๑ ขนาด กว้าง x ยาว ไม่เกิน ๑๒ x ๓๖ นิ้ว
๖.๒ เทคนิค,วัสดุ เป็นภาพสี หรือ ขาวดำ ที่ถ่ายในเขต ๖ จังหวัดอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง และระบุสถานที่ วันที่ ถ่ายภาพ รวมทั้งต้องไม่มีการตกแต่งด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่น ๆ จนผิดไปจากความเป็นจริงในธรรมชาติ
๖.๓ การนำเสนอ ใส่กรอบพร้อมติดตั้งแสดง และส่งพร้อมต้นฉบับของภาพ ถ้าเป็นภาพถ่ายดิจิตอลต้องส่งพร้อมซีดีและถ้าเป็นสไลด์ต้องส่งพร้อมฟิล์ม

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด
๑. เป็นชาวไทย
๒. เป็นชาวต่างประเทศ ที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย
เกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด
๑. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ไม่เกินท่านละ ๓ ชิ้น สำหรับเครื่องประดับสามารถส่งผลงานได้ไม่เกิน ๓ ชิ้น และรับรางวัลสูงสุดเพียง ๑ รางวัล
๒. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ และไม่เคยส่งประกวด หรือแสดง หรือได้รับรางวัลใดมาก่อน
๓. ผู้ส่งผลงานต้องกรอกเอกสารที่ระบุชื่อผู้ส่ง ชื่อผลงาน ประเภทผลงาน สถานที่ติดต่อ กำหนดราคา พร้อมการให้รายละเอียด แนวความคิด แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน

คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะซึ่งประกอบด้วย ศิลปิน นักวิชาการศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้ง ๖ สาขา มาเป็นคณะกรรมการตัดสินใจในแต่ละประเภท

จิตรกรรมได้แก่
ประเทือง เอมเจริญ, จิรพัฒน์ พิตรปรีชา, สมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ สรรเสริญ มิลินทสูต, ปริทรรศ หุตาง***

จิตรกรรมผ้าบาติกสำหรับเครื่องแต่งกาย ได้แก่
ธงชัย รักปทุม, สมชาย พรหมสุวรรณ, มูฮำหมัด โรจนอุดมศาสตร์ ชรัต ทองดี, สุรีย์ สัตญารักษ์

การแกะสลักหนัง ได้แก่
สุชาติ ทรัพย์สิน, ธนะ เลาหะกัยกุล, ประพันธ์ สุวรรณ วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร, สุวรรณ วุฒธญาคม

การออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แก่
สุวรรณ คงขุนเทียน, ม.ล.ภาวินี สันติสิริ, ประธาน ธีระธาดา, เอื้อเอ็นดู ดิศกุล, ปัญจะ ภู่เพ็ชร

การออกแบบเครื่องประดับ ได้แก่
กฤต โชติธรรมาภรณ์, สุภาวี ศิรินทราภรณ์, รสชง ไตรสุริยธรรมา, สุขุมมาลย์ เล็กสวัสดิ์, นิติภูมิ นวรัตน์

ภาพถ่าย ได้แก่ *
สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์, ชูศักดิ์ วรพิทักษ์, ถาวร โกอุดมวิทย์ วรนันท์ ชัชวาลทิพากร, เกรียงไกร ไวยกิจ

การตัดสิน
ตัดสินแยกตามประเภทของศิลปกรรม
ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้
คณะกรรมการอาจตัดสินให้เพิ่มหรือลดรางวัลใดรางวัลหนึ่งในแต่ละประเภทได้ตามความเหมาะสม
คณะกรรมการจะคัดเลือกผลงานศิลปกรรมทุกประเภทที่ไม่ได้รับรางวัลเข้าแสดงจำนวนหนึ่ง

รางวัล
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินให้รางวัลแต่ละประเภท โดยกำหนดรางวัลนี้
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล ๑๕๐,๐๐๐ บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ เงินรางวัล ๗๐,๐๐๐ บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ เงินรางวัล ๕๐,๐๐๐ บาท

กรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์
๑. ผลงานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลทุกประเภท จะตกเป็นของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
๒. ผลงานศิลปกรรมทุกชิ้น ทุกประเภทที่ส่งเข้าประกวด สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ในสูจิบัตร เอกสารสิ่งพิมพ์ทุกประเภท รวมทั้งสารสนเทศสมัยใหม่ทุกชนิด
๓. ผลงานศิลปกรรมที่ได้รับรางวัลทุกประเภท สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ขอใช้สิทธิ์
( ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับศิลปินเจ้าของผลงาน ) นำไปเป็นต้นแบบในการส่งเสริม การสร้างสรรค์หรือผลิตซ้ำเพื่อขยายผลไปสู่การพัฒนาการจัดการด้านการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นต่อไป

กำหนดเวลา
การส่งผลงาน ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘
การตัดสิน ภายในวันที่ ๒๗ – ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๘
การประกาศผลรางวัล จะแจ้งให้ทราบ
พิธีมอบรางวัลและเปิดนิทรรศการ จะแจ้งให้ทราบ

สถานที่รับผลงาน
๑. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย อาคารธนาลงกรณ์ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กทม.
๒. ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล อ.เมือง จ.ภูเก็ต

สถานที่จัดแสดง
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒรรนธรรม จะจัดนิทรรศการผลงาน ๑ ครั้งในกรุงเทพมหานคร (สถานที่จะแจ้งให้ทราบ) และอีกครั้งที่ ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล อ.เมือง จ.ภูเก็ต (จะแจ้ง วัน – เวลาให้ทราบภายหลัง)

สถานที่จัดแสดง
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒรรนธรรม จะจัดนิทรรศการผลงาน ๑ ครั้งในกรุงเทพมหานคร (สถานที่จะแจ้งให้ทราบ) และอีกครั้งที่ ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล อ.เมือง จ.ภูเก็ต (จะแจ้ง วัน – เวลาให้ทราบภายหลัง)

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ชั้น ๑๗ อาคารธนาลงกรณ์
ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๓๕ / ๐๒๔๒๒๘๘๓๙ โทรสาร ๐๒๔๔๖ ๘๔๔๔
โดยคุณ TnT [2005-08-05 18:30:50] Bookmark and Share

โดยคุณ debby [2005-08-08 16:29:54] #1003 (1/1)
โห … ที่ 1 ได้ตั้ง 150000