กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
ส.ค.ส. ๒๕๔๗ แก่ นักท่องเที่ยวไทย
ภาพจากเวบhttp://www.tawanyimchang.com( พุทธพจน์ที่ว่า เพียงใบไม้กำมือเดียวก็สามารถทำให้ทุกคนพ้นทุกข์ได้)

ขอนำพรจากธรรมะบางข้อ มาให้พี่เพื่อนน้องนักท่องเที่ยว ในโอกาสศักราชปีใหม่
ธรรมะเหล่านี้มาจากแหล่งธรรมชาติที่ไปเที่ยวเที่ยวกันมาทั้งนั้น ผู้ค้นพบเป็นที่ทราบกันแล้วว่าคือ" พระพุทธเจ้า "
ขอน้อมนำธรรมะ มาสอดคล้องกับคำว่า ส.ค.ส. ๒๕๔๗ ดังนี้
..ส... สะอาดอย่างศีล ทำให้สถานที่เที่ยวน่าอยู่ น่าพัก น่าเที่ยวนะครับ
..ค..คิดเช่นสมาธิ ทำให้กาย วาจา ใจ แสดงออกมาให้กลุ่มเที่ยวมีความสุข สนุก นะครับ
..ส..สร้างสรรค์อย่างปัญญา ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ดำรงสิ่งเก่าอย่างรู้คุณค่า นะครับ
..๒..แทน ธรรมคุ้มครองโลก ๒ คือขันติ(อดทนได้)และโสรัจจะ(อัธยาศัยงาม)
..๕..แทน ศีล๕ ไม่ต้องบอกนะว่ามีอะไรบ้าง
..๔..แทน อริยสัจจ์๔ มีทุกข์,สมุทัย,นิโรจ,มรรค
..๗..แทน สัปปุริสธรรม๗ (คุณสมบัติของคนดี) มีรู้เหตุ ,รู้ผล,รู้ตน,รู้ประมาณ,รู้กาล,รู้ชุมชนและรู้บุคคล

..ขอให้พุทธศักราชใหม่เป็นดั่งใจปรารถนาของทุกคน...
โดยคุณ ต้อย พระ [2004-01-06 12:51:51] Bookmark and Share

โดยคุณ ต้อย พระโขนง [2004-01-06 12:54:34] #2596 (1/6)

มือไว ไปนิด ชื่อหด ภาพหายครับ
โดยคุณ คนหลังเขา [2005-02-11 11:22:41] #6091 (2/6)
โทษนะครับ...ธรรมคุ้มครองโลก..(โลกปาลธรรม) คือ หิริ ความละอายแก่ใจ.และ.โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อการทำความชั่ว...ส่วนขันติและโสรัจจะนั้น..เป็นธรรมะที่ทำให้งาม...
โดยคุณ เด็กแนว [2005-08-06 20:36:29] #9345 (3/6)
ภาพสวยนะค่ะ รูปแบบสวย zzzz
โดยคุณ เด็กรู้น้อย [2005-10-12 20:19:58] #11439 (4/6)
สัปปุริสธรรม๗คืออะไรค่ะ
โดยคุณ 4จัตุรเทพ [2006-11-23 15:13:06] #20455 (5/6)
โดยคุณ conan [2007-02-06 17:56:23] #21630 (6/6)
คนดีในความหมายของพระพุทธศาสนาจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วยหลักธรรม ๗ ประการ ดังนี้

๑.ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่าการทำความดีเป็นเหตุแห่งความสุข
ความขยันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ ความเกียจคร้านเป็นเหตุแห่งความล้มเหลว
การทำความชั่วเป็นความทุกข์ เป็นต้น และรู้ว่าเมื่อเกิดมีผลขึ้นมาแล้วมันจะต้องมีเหตุ
ไม่ใช่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีเหตุเลย เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดผลดี
อะไรเป็นเหตุให้เกิดผลชั่ว แล้วพยายามหลีกเลี่ยงหรือละเหตุที่จะให้เกิดผลชั่ว
แล้วหันมาทำแต่เหตุที่จะให้เกิดผลดี

๒.อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่าความสุข เป็นผลแห่งการทำความดี ทุกข์เป็นผลแห่งการทำความชั่ว สอบไล่ได้เป็นผลแห่งความขยันความตั้งใจเรียน
สอบไล่ตกก็ทราบว่านั่นเป็นผลแห่งความเกียจคร้น ความไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น
แล้วพยายามแสวงหาแต่ผลดีโดยการทำเหตุที่ดี

๓.อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน คือ ต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เรามีชาติ มีเพศ
มีตระ***ล ยศศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้ความสามารถ กำลัง ความถนัด และคุณธรรม แค่ไหน เพียงไร แล้วต้องประพฤติตนให้สมกับภาวะนั้นๆ และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

๔.มัตตญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีเช่นในการแสวงหาเครื่องยังชีพ
ก็ต้องแสวงหาในทางที่ชอบธรรม ไม่โลภมากเกินไปเมื่อหามาได้แล้วก็ต้องรู้จักประมาณในการใช้
จ่ายด้วย ด้องไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไปนัก และต้องไม่ฝืดเคืองจนเกินไปด้วย

๕.กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาที่จะต้อง
ใช้ในการประกอบกิจกระทำหน้าที่การงานต่างๆ เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะแก่เวลา เป็นต้น ถ้าผิดพลาดในเรื่องกาลเวลาดังกล่าว นอกจากจะไม่ได้รับ
ผลสำเร็จแล้วยังอาจจะได้รับผลเดือดร้อนในภายหลังอีกด้วย เช่น การไปสอบไม่ทันเวลา เป็นต้น

๖.ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท ประชุมชน และสังคม ว่าสังคมใดควรที่จะเข้าไปร่วม
ด้วย สังคมใดควรหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล รวมทั้งรู้กิริยาที่ประพฤติต่อชุมชนหรือสังคมนั้นๆ ว่า
เมื่อเข้าสังคมนี้จะต้องประพฤติตัววางตัวอย่างใด จะต้องพูดอย่างไร ต้องรู้มารยาทในสังคมนั้นๆ
จะได้ไม่เคอะเขินเวลาสู่ที่ประชุมชน คือ ต้องทำตัวเข้ากับสังคมได้โดยถูกต้องตามทำนองคลอง
ธรรม

๗.ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า บุคคลนี้เป็นคนดี ควรคบ ผู้นี้เป็นคน
ไม่ดี ไม่ควรคบ เป็นต้น เพราะในสังคมทั่วๆ ไปย่อมมีทั้งคนดีคนชั่วด้วยกันทั้งนั้น จึงต้องรู้จัก
เลือกคบคน เพราะการคบคนดีย่อมเป็นศรีแก่ตน คบคนชั่วจะพาตัวให้บรรลัย รวมทั้งรู้ความ
แตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครยิ่งหรือหย่อน
อย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลที่จะสนทนากับบุคคลด้วยดีว่าจะใช้ถ้อยคำ จะตำหนิ ยกย่อง หรือแนะนำพร่ำสอนอย่างไรจึงจะได้ผลดี เป็นต้น

ในชีวิตประจำวันนั้น ถ้าใครมีคุณธรรมของมนุษย์ที่แท้ ๗ ประการ และสามารถประพฤติได้อย่าง
ถูกต้องตามหลักการเหล่านี้โดยสมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็น "สัตบุรุษ" หรือ "คนดีแท้" หรือ "มนุษย์โดยสมบูรณ์" การกระทำหรือพฤติกรรมของเขาย่อมเหมาะสมถูกต้อง ปราศจากความ
ผิดพลาด นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวม คนดีแท้อยู่ในสังคมใดย่อมเอื้อ
อำนวยประโยชน์สันติสุขแก่สังคมนั้น ผู้ประสงค์จะให้การดำเนินชีวิตประจำวันไปโดยราบรื่น
เรียบร้อย เป็นสุขช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติได้ จะต้องมีคุณธรรมของมนุษย์โดยสมบูรณ์
ดังกล่าว.

สรุปคือคนดีจะต้องรู้จัก

•เหตุ
•ผล
•ตน
•ประมาณ
•กาล
•ชุมชน
•บุคคล