:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::
   เรื่องเล่าคนเดินทาง
   เทคนิคแคมป์
   เรื่องเล่าติดแสตมป์
   นานา..น่าลอง
   ศิลปวัฒนธรรม
   เรื่องเล่าจากราวไพร  
   สมุดเยี่ยม
   มองผ่านเลนส์
   ทริปเดินทาง ปี 53  
   แนะนำตัว
สมัครสมาชิกรับข่าวสาร ฟรี!!





:: ศิลปวัฒนธรรม :: เพื่อส่งเสริมสำนึกรักศิลปวัฒนธรรมไทย ::

:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::











เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี
จังหวัดนราธิวาส

ประวัติความเป็นมา

พรุโต๊ะแดง จัดเป็นพรุน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศที่สภาพป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายของพรรณพืชและสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาสถึง 123,625 ไร่ นักธรณีวิทยาได้สันนิษฐานสาเหตุการเกิดพรุว่า แต่เดิมบริเวณพื้นที่พรุดังกล่าวเป็นทะเลปากแม่น้ำ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติมีสันทรายปิดกั้นทะเลเกิดเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ น้ำจากแม่น้ำได้พัดพาดินตะกอนจากบริเวณเทือกเขาบูโด--สุไหงปาดีมาสะสมอยู่ในแอ่งจนทำให้สังคมพืชบกสามารถเจริญเติบโตได้ และมีการพัฒนาจนตื้นเขินกลายเป็นพรุและเป็นป่าดิบชื้นในที่สุด ลักษณะดินพรุจึงเป็นดินตะกอนน้ำเค็มและอินทรียวัตถุที่กำลังย่อยสลายทับถม อยู่บนชั้นผิวหน้าซึ่งเรียกว่า peat จึงเรียกพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดงว่า peat swamp forest สาเหตุการเกิดดินดังกล่าวจึงทำให้ลักษณะของดินพรุซึ่งเป็นดินตะกอนน้ำเค็มมีสารประกอบไพไรท์ Fer2 ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ หากดินประเภทนี้สัมผัสกับอากาศจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เรียกว่า oxidation เกิดสารประกอบซัลเฟตและกรดกำมะถัน ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดสูง และเกิดสารประกอบโรไวท์ Kfe3(SO4)(OH)4 เมื่อได้รับน้ำจะทำให้เกิดกรดในรูปของกรดอินทรีย์และอนินทรีย์ชนิดต่าง ๆ แต่โดยทั่วไปพื้นที่ป่าพรุจะมีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดปีจะลดปริมาณบ้างก็เพียงหน้าแล้งและบริเวณขอบพรุ จึงทำให้สภาพของดินพรุยังคงความสมดุลตลอดไป
ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ได้มีหน่วยงานของรัฐได้เข้ามาดำเนินการพัฒนาพื้นที่พรุ เพื่อใช้ในด้านการเกษตรกรรม โดยการขุดคลองระบายน้ำเพื่อให้พื้นที่พรุแห้งลง อันมีผลทำให้พื้นที่ป่าพรุได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง คือ ในหน้าแล้งราษฎรได้เข้าไปจุดไฟเผาป่า ทำให้เกิดไฟไหม้ป่ากินเนื้อที่กว้างถึง 2,000 ไร่ ลักษณะการเกิดไฟจะเป็นไฟใต้ผิวดิน เพราะไฟจะลุกลามภายใต้ซากอินทรีวัตถุเหนือพื้นดินไม่สามารถดับได้ จากความผิดพลาดดังกล่าว คณะกรรมการจัดทำแผน แม่บทของโครงการศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจึงได้ดำเนินการจำแนกพื้นที่พรุเพื่อความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. เขตสงวน (preservation zone) เป็นป่าสมบูรณ์ที่ยังไม่ถูกทำลายจำเป็นต้องอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมต่อไป มีพื้นที่ประมาณ 65,000 ไร่
2. เขตอนุรักษ์ (conservation zone) เป็นพื้นที่ป่าพรุที่ถูกทำลาย บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ป่าเสม็ด และป่าที่กำลังพัฒนาเป็นป่าสมบูรณ์ จะต้องทำการฟื้นฟูให้เป็นป่าสมบูรณ์ต่อไป หรือดำเนินการพัฒนาให้เหมาะโดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของป่า มีพื้นที่ประมาณ 119,000 ไร่
3. เขตพัฒนา (development zone) เป็นพื้นที่ที่จะดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและสังคม มีพื้นที่ประมาณ 252,000 ไร่
ในชั้นแรกพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดงได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าพรุ แต่เดิมมีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำ บางนราแปลงที่ 1 และป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำบางนราแปลงที่ 2 ในพื้นที่ 191,406 ไร่ ตั้งแต่ปี 2518 ต่อมาโครงการศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทองได้กำหนดแผนแม่บทในโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำบางนราแปลงที่ 1 เป็นเขตพัฒนา โดยการจัดตั้งนิคมสหกรณ์ปิเหล็งเพื่อจัดสรรให้แก่ราษฎร ส่วนในพื้นที่เขตอนุรักษ์บางส่วนและเขตสงวนของพรุโต๊ะแดงได้มอบหมายให้กรมป่าไม้ดำเนินการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยกำหนดพื้นที่เฉพาะป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลุ่มน้ำบางนราแปลงที่ 2 ในเขตสงวนและเขตอนุรักษ์บางส่วน พื้นที่ประมาณ 125,625 ไร่ ซึ่งอยู่พื้นที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอสุไหงโก-ลก และเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระชนมายุครบ 36 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2534 กรมป่าไม้จึงได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเพื่อใช้ชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2534

ลักษณะของป่าพร

เป็นลักษณะของป่าดิบชื้น (tropical rain forest) หรือ ป่าต่ำ (low land forest) เกิดจากการสะสมของตะกอนและอินทรียวัตถุหรือซากพืช (oganic matter)) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ ป่าพรุ peat land มีลักษณะของความหลากหลายของพันธุ์ไม้และความหนาแน่นของไม้พื้นล่างต่างจากป่าบกทั่วไป พื้นที่จะเป็นทั้งบริเวณที่มีน้ำขังและเนินซึ่งเกิดจากอิทธิพลของน้ำทะเล จึงเป็นแหล่งที่หลบภัยของสัตว์ป่าได้อย่างดี

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศแบบดิบชื้น แต่เนื่องเป็นที่ราบระดับเดียวกัน ลักษณะอากาศจึงร้อนชื้นและอบอ้าว เนื่องจากการเคลื่อนไหวของอากาศมีน้อย

พรรณไม้

จากลักษณะพิเศษของป่าพรุ คือ มีน้ำขังตลอดปี จะมีน้ำลดลงในฤดูแล้ง ไม้พื้นล่างมีความหนาแน่นสูง มีไม้สูงปานกลางขึ้นหนาแน่น และมีความหลากหลายของพืชพรรณทั้งไม้ พื้นล่าง เถาวัลย์ และไม้ยืนต้น จากการสำรวจของนักพฤกษศาสตร์ กรมป่าไม้ พบว่า พรรณไม้ในป่าพรุที่เป็นไม้ยืนต้นมีมากกว่า 470 ชนิด เป็นชนิดที่พบครั้งแรกในประเทศไทย 50 ชนิด ประกอบด้วยพรรณไม้ดอก 109 วงศ์ 437 ชนิด และเฟิร์น 15 วงศ์ 33 ชนิด ไม้ขนาดใหญ่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างได้ คือ อ้ายบ่าว ( Stemonrus sercundiflorus )ตังหน ( Calophyllum inopylloide ) ตะเคียนทราย ( Hopea avellanea ) ช้างไห้ ( Neesia malayana ) สะเตียว ( Ganua motleyana ) เป็นต้น ส่วนไม้ชนิดอื่น เช่น เกี๊ยะ ( Aglaia odoratissima ) และเทียะ ( Dialium patene ) สามารถนำเปลือกมาทำธูป นอกจากมีไม้ขนาดใหญ่แล้วยังมีไม้ตระกูลปาล์ม คือ หมากเขียว หมากแดง หมากลิง ใช้เป็นไม้ประดับ โดยเฉพาะหมากแดงมีถิ่นที่อยู่ตาม ธรรมชาติแห่งเดียวของประเทศ คือ พรุโต๊ะแดงและ พรุบาเจาะ
ถัดออกไปจากเขตป่าพรุที่สมบูรณ์แล้วจะมี มะฮัง และเสม็ดขาว ขึ้นอยู่หนาแน่น ราษฎรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเผาถ่าน ทำเสาเข็ม และไม้ค้ำยัน ส่วนไม้พื้นล่างที่เห็นอยู่ทั่วไป คือ กระพ้อแดง หลุมพี ย่านลิเภา หวายสะเดา และหวายน้ำ เป็นต้น

สัตว์ป่า

จากความหลากหลายของสังคมพืช ความยากลำบากของการเข้าไปยังพื้นที่ป่าพรุ มิใช่เป็นที่น้ำขังอย่างเดียว บางจุดมีเนินเล็ก ๆ ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากอิทธิพลของคลื่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นอย่างดี <>
จากการสำรวจในปี พ.ศ.2532 โดยกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ พบว่าสัตว์ป่าใน ป่าพรุมีมากกว่า 237 ชนิด โดยแบ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 42 ชนิด นกชนิดต่าง ๆ 199 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 10 ชนิด ปลา 42 ชนิด เป็นปลาสวยงาม 8 ชนิด ปลาเศรษฐกิจ 5 ชนิด นอกจากนั้นเป็นปลาชนิดอื่น ๆ ในจำนวนนี้เป็นปลาที่หายากในลุ่มน้ำอื่น ๆ เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ และปลาที่ยังไม่เคยพบในแหล่งน้ำของประเทศไทยมาก่อนเลย 3 ชนิด ได้แก่ ปลากาแมะ ปลา Povosphromenu deissneri และปลา Britensteinia sp. และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ 6 ชนิด ได้แก่ นกเค้าแดง นกเงือกดำ นกตะกรุม แมวป่าหัวแบน เสือดำ และจระเข้น้ำจืด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบมากที่สุดในป่าพรุ ได้แก่ ค่างแว่นถิ่นใต้ หมีขอ ค่างดำ ลิงแสม นากใหญ่ขนเรียบ นากเล็กเล็บสั้น ส่วนนกที่หายากที่สำรวจพบ ได้แก่ นกตะกรุม นกกางเขนหางแดง นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย นกตบยุงพันธุ์มลายู เหยี่ยวปลาหัวเทาใหญ่ และนกเค้าแดง

จุดเด่นที่น่าสนใจ

เนื่องจากลักษณะของป่าพรุเปรียบเสมือนป่าในน้ำจึงมีความแตกต่างจากป่าอื่น ๆ ในรูปแบบของความหลากหลายของสังคมพืชและสัตว์ ระบบนิเวศน์ของป่าอันเป็นหนึ่งเดียวและแหล่งสุดท้ายของประเทศที่ควรศึกษาและนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ปัจจุบันโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง โดยกรมป่าไม้ได้ดำเนินการสร้างศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติขึ้นใน พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบริเวณบ้านโต๊ะแดง อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นศูนย์วิจัยรวบรวมข้อมูลการประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ป่าพรุแห่งนี้ในปี พ.ศ.2533 โดยมีโครงการจัดทำทางเดินเพื่อการศึกษาธรรมชาติในป่าระยะทาง 12 กิโลเมตร ณ บริเวณบ้านโต๊ะแดง ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ได้รับพระราชทานนามศูนย์ ฯ แห่งนี้จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราฃกุมารีว่า ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร

การเดินทาง

จากกรุงเทพมหานครเดินทางไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษมไปถึงจังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 1,140 กิโลเมตร จากจังหวัดนราธิวาสไปตามเส้นทางสายนราธิวาส - ตากใบ กิโลเมตรที่ 8 เข้าไปทางถนน รพช. บ้านโคกกระดูกหมู หมู่บ้านกูจำ ระยะทาง 10 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งสำนักงานเขต ฯ ซึ่งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

สิ่งอำนวยความสะดวก

ไม่มี

สถานที่ติดต่อ

โทร. 5614292-3 ต่อ 706,707


©2002-2005 by TripandTrek
Contact :
webmaster@tripandtrek.com , MobilePhone : 0-6510-2074