|
|
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จังหวัดตาก
ประวัติความเป็นมา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่นแต่เดิมเป็นป่าเตรียมการสงวนเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จากการไปตรวจราชการ ของนายอุดม หิรัญพฤกษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานเสนอความเห็นไปยังกรมป่าไม้ ว่าสภาพป่าบริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความชุ่มชื่นมากมีสัตว์ป่าชุกชุม สมควรประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต่อไป กรมป่าไม้โดยกองอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงได้ทำการสำรวจตรวจสอบเบื้องต้น แล้วดำเนินการตามขั้นตอนเรื่อยมา จนกระทั้งมีประกาศพระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่ตื่น ในท้องที่ตำบลยางเปียง ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย ตำบลมืดกา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา ตำบลแม่ตื่น
ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อ พ.ศ. 2521 ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 1,500,000 ไร่ โดยประกาศในราชกิจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า 1 - 4 เล่ม 95 ตอนที่ 80 วันที่ 10 สิงหาคม 2521 เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่ และตาก ตามพระราชกฤษฏีกา พ.ศ. 2521 มีเนื้อที่กว้างขวางมาก สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซ้อนซ้อน การคมไม่สะดวก ยากแก่การติดต่อประสานงาน ฉะนั้นเพื่อให้งานจัดการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลอย่างเต็มที่ จึงแบ่งเขตรักษาพันธุสัตว์ป่าแม่ตื่นเดิมออกเป็น 2 ส่วน คือบริเวณที่ดินด้านทิศเหนือ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และบริเวณที่ดินด้านทิศใต้ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ในปัจจุบันตามพระราชกฤษฏีกา พ.ศ. 2526 ประกาศในราชกิจจานุเบกฉบับพิเศษ หน้า 20 เล่ม 100 ตอนที่ 135 วันที่ 19 สิงหาคม 2526
ลักษณะภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงชัน สลับซับซ้อน เป็นป่าเขาที่ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยใหญ่น้อยสายต่าง ๆ จำนวนมากไหลลงสูงน้ำแม่ตื่น แล้วไหลออกบรรจบแม่น้ำปิง ลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลตามลำดับ ภาพโดยรวมของพื้นที่มีลักษณะเป็นแนวเขา โดยล้อมพื้นที่ไว้ 3 ด้านคล้ายรูปยูตะแคง โดยหันหัวไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำเขึ่อนภูมิพล และมีน้ำแม่ตื่นพาดผ่านกลางพื้นที่ในแนว เหนือ - ใต้ แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน ด้านทิศตะวันตกเฉลียงใต้ของพื้นที่มีเทือกเขาสูงจากตอนกลางออกมา เป็นเทือกเขาที่มีหน้าผาหินบนสันเขาลักษณะเดียวกับดอยม่อนจอง จังหวัดเชียงใหม่ ยอดเขาที่สูงที่สุดในพื้นที่อยู่บนเทือกเขานี้ สูง 1,664 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม - พฤษภาคม
2. ฤดูหนาว ตุลาคม - กุมภาพันธ์
3. ฤดูฝน พฤษภาคม - ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,926 ลบ.มม.
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และความชื้นต่างระดับกันทำให้มีสภาพป่าที่แตกต่างกัน หลายประเภท พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก เต็ง รัง ก่อ มะห้า เมี่ยง ขนุนป่า ไม้ไผ่ ประดู่ ตีนนก ตะแบก มะกอก สนสองใบ สนสามใบ พลวง พยอม ทรัพยากรสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ยังมีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าที่อพยพมายังพื้นที่ที่กักเก็บน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ขุนห้วยส่วนมากมีความชุ่มชื้น มีพื้นป่าหลากหลายที่เป็นอาหารสัตว์ สัตว์ป่าที่มีเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ไก่ป่า เก้ง และจำพวกนกชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนได้แก่ กวางผา เลียงผา และเก้งหม้อ
จุดเด่นที่น่าสนใจ
การล่องแพชมธรรมชาติสองฝั่งน้ำแม่ตื่น นั่งเรือชมหน้าผาหินบริเวณสองฝั่งแม่น้ำปิงจนถึงเชื่อภูมิพล และบนดอยสอยมาลัย ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงสุด สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของป่าดิบเขาและอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ตลอดจนอากาศจะหนาวเย็นตลอดทั้งปี
ความสำคัญของพื้นที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น เป็นโครงการป่าอนุรักษ์โครงการหนึ่ง ซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกับป่าอนุรักษ์ทั้งทางด้านทิศเหนือ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และทิศตะวันออก คือ อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ก่อให้เกิดเขตป่าอนุรักษ์ ที่มีพื้นที่กว้างขวาง ซึ่งเป็นผลดีต่อทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้ เป็นแหล่งหยุดพักของนกที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศ
การเดินทาง
การเดินทางไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จังหวัดตาก วิธีที่สะดวก คือการเดินทางโดยรถยนต์ แยกจากถนนพหลโยธินที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไปตามทางหลวงหมายเลข 1175 สายบ้านตาก - แม่ระมาก ประมาณ 52 กิโลเมตร ก่อนจะถึงหน่วยพิทักษ์ป่ากองจะมีทางแยกขวาไปตามถนนลูกรัง ประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการเขตฯ
สิ่งอำนวยความสะดวก
บ้านพักบริเวณที่ทำการเขตฯ 1 หลัง พักได้ 10 คน แพที่หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยริน พักได้ 15 คน
|
|
|
|
|
|