ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤศจิกายน 25, 2024, 10:10:00 AM
อุปกรณ์เดินทาง [ ปี 1- 5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีเขียว
| |-+  อุปกรณ์เดินทาง (ผู้ดูแล: LightHouse)
| | |-+  “ส้วมกล่อง-ส้วมเก้าอี้” ไอเดียเก๋ๆ ยามฉุกเฉิน
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: “ส้วมกล่อง-ส้วมเก้าอี้” ไอเดียเก๋ๆ ยามฉุกเฉิน  (อ่าน 4662 ครั้ง)
“ส้วมกล่อง-ส้วมเก้าอี้” ไอเดียเก๋ๆ ยามฉุกเฉิน
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 01:32:55 PM »

“ส้วมกล่อง-ส้วมเก้าอี้” ไอเดียเก๋ๆ ยามฉุกเฉิน







สถานการณ์น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่ ทำเอาประชาชนได้รับความเดือดร้อน ลำบากกันทั่วทุกหัวระแหง ทั้งเรื่องที่อยู่ หลับนอน อาหารการกิน และที่สำคัญ คือ ปัญหาการขับถ่าย โดยเฉพาะในสภาวะที่น้ำเอ่อท่วมจนแทบจะมองไม่เห็นผืนดินอย่างนี้ หากปวดปัสสาวะ อุจจาระขึ้นมา ใครบ้างจะสามารถทานทนได้ บางคนจำต้องปล่อยไปตามกระแสน้ำ พานจะทำให้เกิดโรคระบาดตามมา
       
       ดังนั้น เพื่อสุขอนามัยที่ดีและป้องกันโรคระบาด นอกจาก “ส้วมลอยน้ำ” ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สร้างขึ้นแจกจ่ายให้กับประชาชนซึ่งอาจไม่เพียงพอและผลิตไม่ทันกับความต้องการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมอนามัยจึงดำเนินการแจกถุงดำจำนวน 360,000 ใบ ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อนำไปประดิษฐ์เป็นส้วมชั่วคราวไว้สำหรับใช้ในครัวเรือน
       
       นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย อธิบายวิธีประดิษฐ์ส้วมฉุกเฉินอย่างง่ายๆ 2 แบบ คือ แบบส้วมกล่อง กับส้วมเก้าอี้ ซึ่งล้วนเป็นการหยิบจับสิ่งของรอบๆ ตัวมาประดิษฐ์ หากครอบครัวใดมีเก้าอี้พลาสติกก็ให้เจาะรูตรงกลาง จากนั้นใช้ถุงดำที่ได้รับแจกประกอบเข้ากับเก้าอี้ หรือหากในบ้านมีกล่องพลาสติก เช่น กล่องกระดาษ ลังเบียร์ ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ก็สามารถเจาะรูสำหรับทำเป็นส้วมชั่วคราวได้หลายขนาดตามต้องการ หากเป็นเด็กเล็ก ก็อาจใช้กระดาษแข็งเจาะรูแล้วประกอบเข้ากับกล่องเพิ่มเติมเพื่อให้ให้มีขนาดอย่างเหมาะสมได้
       
       หลายคนอาจยังสงสัยว่า แล้วส้วมฉุกเฉินที่ว่านี้จะต้องใช้งานอย่างไร จึงจะปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ นพ.สมยศ บอกว่า กรมอนามัยได้เตรียมคำแนะนำไว้เสร็จเรียบร้อย สามารถจดจำไปใช้ได้ 6 ข้อสั้นๆ ได้แก่ 1.ตรวจสอบลักษณะถุงพลาสติกสีดำให้อยู่ตรงกลางของช่องส้วม 2.ขับถ่ายให้ลงตรงกลางช่องของส้วม 3.ใช้กระดาษชำระทำความสะอาดหลังการขับถ่าย 4.กระดาษชำระที่ใช้แล้วให้ทิ้งในถุงพลาสติก 5.หลังจากใช้งานแล้วให้มัดปากถูกพลาสติกให้มิดชิด และ 6.รวบรวมถุงพลาสติกที่ใช้งานแล้วทิ้งลงถุงใบใหญ่อีกชั้น แล้วมัดปากถุงเพื่อนำไปกำจัดหลังน้ำลด โดยอาจใช้วิธีการขุดหลุมฝัง เนื่องจากถุงดำที่แจกนั้นสามารถย่อยสลายเองได้ในธรรมชาติ หรืออาจใช้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปกำจัด เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรค
       
       “หากทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถใช้งานส้วมชั่วคราวได้อย่างปลอดภัย และช่วยลดปัญหาพฤติกรรมการขับถ่ายลงน้ำ อันเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อโรค ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนได้”อธิบดีกรมอนามัยอธิบายถึงความสำคัญของส้วมฉุกเฉิน
       
       นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จากกรมอนามัยยังฝากบอกเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เสริมไอเดียสุดเก๋ นี้ว่า สำหรับใครที่มีหัวคิดด้านการสร้างสรรค์ สามารถเพิ่มคุณค่าของเจ้าส้วมชั่วคราวนี้ได้หลายแบบ เช่น อาจเลือกใช้กระดาษที่มีสีสันสวยงามห่อหุ้มกล่องให้ดูน่าใช้ หรือจะมีการวาดลวดลายเพิ่มเติมลงไปทั้งในส่วนของตัวกล่องหรือฝาปิดเพิ่มเติมได้
       
       ช่วงสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ มีเรื่องเครียดๆ มากพออยู่แล้ว บางทีการใช้หัวคิดในแนวสร้างสรรค์ อาจมีส่วนช่วยผ่อนคลายอารมณ์กังวลก็อาจเป็นได้ และระหว่างรอส้วมฉุกเฉินที่ทางกรมอนามัยจะแจกจ่ายในเร็วๆ นี้ ก็ลองทำตามคำแนะนำของ สธ.ไปก่อน เพื่อสุขภาวะที่ดีในการใช้ส้วมของทุกคน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2553 10:10 น.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
 
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.026 วินาที กับ 19 คำสั่ง