ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ธันวาคม 22, 2024, 05:43:12 PM
ศิลปวัฒนธรรม [ ปี 1-5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีเขียว
| |-+  ศิลปวัฒนธรรม (ผู้ดูแล: tooom, bamboo)
| | |-+  อาบังระทม เจอพิษส่าหรีจีนถล่มตลาดท้องถิ่น
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อาบังระทม เจอพิษส่าหรีจีนถล่มตลาดท้องถิ่น  (อ่าน 4225 ครั้ง)
อาบังระทม เจอพิษส่าหรีจีนถล่มตลาดท้องถิ่น
« เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 09:18:33 AM »


เอเอฟพี - ชุดส่าหรีเมืองพาราณสี … งานหัตถกรรมผ้าไหมของช่างทอในเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ ที่แสนงดงามจนต้องตะลึง และสตรีอินเดียล้วนเทิดทูนบูชามานานหลายร้อยปี
       
       มาวันนี้ เจอศึกหนักเสียแล้ว เมื่อจู่ ๆ แดนมังกรเกิดมีชุดส่าหรีก็อปปี้สวยงามคล้ายคลึงกัน แถมราคาถูกกว่ามาก ทะลักเข้ามาตีอุตสาหกรรมท้องถิ่นกระจุย
       
       นาย บาดรุ๊ดดิน อันซารี ช่างทอผ้า ซึ่งเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนในเมืองเล่าว่า เพื่อนร่วมอาชีพส่วนใหญ่ ขณะนี้ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบหาเลี้ยงชีวิตด้วยการเป็นคนขายผัก เดินเร่ขายน้ำชา หรือไปลากรถรับส่งผู้โดยสาร
       
       “เมื่อคนเราสูญเสียบ้าน หมดอาชีพ เขาจะไปที่ไหนได้ล่ะครับ” เขาย้อนถามอย่างฉุนโกรธ
 
       “ผมก็ได้แต่หวังว่างานศิลปะชุดส่าหรีเมืองพาราณสีจะอยู่รอดต่อไป รัฐบาลต้องห้ามการนำเข้าส่าหรีพวกนั้น หรือไม่ก็เก็บภาษีให้หนักขึ้น เพื่อรักษาอุตสาหกรรมในประเทศไว้” นายอันซารีเสนอ
       
       ชุดส่าหรีเมืองพาราณสีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือด้วยศิลปะการเย็บปักถักร้อย อันวิจิตรตระการตา และยังเป็นที่เสาะแสวงหาของเจ้าสาวชาวอินเดียทางตอนเหนือสำหรับสวมใส่ในวันสำคัญแห่งชีวิต
       
       นายรัชนี กานต์ ผู้อำนวยการสมาคมสวัสดิการมนุษย์ ซึ่งเป็นกลุ่มไม่แสวงหากำไร ทำงานเพื่อช่วยเหลือช่างทอในเมืองแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2536 มองเห็นหายนะจากการนำเข้าสินค้าจากเมืองจีน
       
       “ ยกตัวอย่างรายหนึ่ง ลุงอายุ 55 ปี ที่ผมรู้จัก แกเริ่มทอผ้าตั้งแต่อายุ 15 ปี” นายกานต์เล่า
       “แกทิ้งหูกทอผ้าไปเมื่อ 3 ปีก่อน ตอนนี้ทำงานเป็นกรรมกร ยังมีอีกหลายแสนคน ที่เป็นเหมือนอย่างแก”
       
       อุตสาหกรรมทอผ้าในเมืองพาราณสีล่มสลายไปกว่าร้อยละ 60 แล้วตั้งแต่ปี 2546 นายกานต์ระบุ
       
       ในปี 2550 มีรายงานข่าวออกมาถึงขั้นที่ว่าช่างทอหลายคนในเมืองต้องขายโลหิต เพื่อมีรายได้พอประทังชีวิต ในขณะที่ส่าหรีก็อปปี้จากเมืองจีนเกลื่อนกลาดแดนโรตีด้วยสนนราคาราว 2,500 รูปี (55 ดอลลาร์) ขณะที่ส่าหรีของแท้ราคาไม่ต่ำกว่า 4,000 รูปี
       
       ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอชี้ว่า จริง ๆ แล้ว ยอดนำเข้าส่าหรีจากจีนของทางการมีจำนวนไม่มาก แต่ที่ทะลักเข้ามานั้น เป็นวิธีการที่แยบยล โดยนำเข้าในลักษณะของผ้า ที่ยังไม่ตัดเย็บ และส่วนมากเป็นสินค้าต้องห้าม ที่ส่งเข้ามาอินเดียผ่านทางเนปาล นอกจากนั้น โรงงานในจีนผลิตผ้าไหมออกมามากมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ แล้วส่งผ้าสำเร็จรูปมาขายในอินเดีย
 
 
       แม้อินเดียมีการจัดเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดสำหรับผ้าไหมแล้ก็ตาม แต่ยอดการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยอินเดียมียอดนำเข้าผ้าไหมจากจีนเพิ่มร้อยละ 23 ในช่วงปี 2551-2553 คิดเป็นมูลค่าสูงเกือบ 6,400 ล้านรูปี
       
       นอกจากนั้น แม้รัฐบาลอินเดียหาทางปกป้องส่าหรีผ้าไหม ที่ผลิตในเมืองพาราณสีด้วยการออกสิทธิบัตรคุ้มครองเมื่อปี 2552 แต่แทบไม่ได้ผลเลยในทางปฏิบัติ เช่นตำรวจไม่มีการจับกุมผู้ผลิต หรือขายส่าหรีพาราณสีปลอม
       
       ขณะเดียวกัน ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ทราบเรื่องการออกใบรับรองส่าหรี ที่ผลิตโดยช่างทอพาราณสี และมักแยกแยะความแตกต่างระหว่างส่าหรีของแท้กับของเทียมไม่ออก
       
       นาย อันซารี ซึ่งยังคงดำเนินธุรกิจทอผ้าส่าหรีร่วมกับช่างทออีก 400 ชีวิตไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า ธุรกิจของเขาจะดำเนินไปได้นานเพียงใด แต่ก็จะกัดฟันประคับประคองไปให้นานที่สุด
       
       “เราไว้วางใจจีนทุกเรื่องไม่ได้หรอก” เขาสรุป

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 มกราคม 2554 08:06 น.


 
บันทึกการเข้า
Re: อาบังระทม เจอพิษส่าหรีจีนถล่มตลาดท้องถิ่น
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 13, 2011, 07:30:19 PM »

อย่างนี้แล้ว..ถ้าเจอจีนกะแขกจะตีไหนก่อนคับกุ้ง
บันทึกการเข้า

ฉันไม่ได้รักมนุษย์น้อยลง  เพียงแต่ฉันรักธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น
Re: อาบังระทม เจอพิษส่าหรีจีนถล่มตลาดท้องถิ่น
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 04:53:17 PM »

อย่างนี้แล้ว..ถ้าเจอจีนกะแขกจะตีไหนก่อนคับกุ้ง

ตีคนกวงตีงฮับพี่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

เพราะหัวใจ(เรียกร้อง ... เราจึงออก)เดินทาง
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
 
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.028 วินาที กับ 20 คำสั่ง