:: ข้อมูลการเดินทาง :: ศึกษาข้อมูลไว้รับรองไปไหนไม่มีผิดหวัง ::
กลับหน้าแรก | ตั้งคำถามใหม่ | ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
ค้นหาคำถาม
:: Trip & Trek.com :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ

อุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ [ข้อมูลทั่วไป]



ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันป่าตอง
อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน
มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเนื้อที่ประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่


ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน
มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร
ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร
ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ
แม่แจ่ม แม่ขาน
และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล


ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี
ความชื้นสูงมาก โดยเฉพาะบนดอย ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี
ในฤดูร้อนก็ยังมีอากาศหนาวเย็นอยู่ ต้องสวมเสื้อกันหนาว


พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่โล่ง สลับกับป่าไม้ เนื่องจากถูกชาวเขา เผ่าแม้ว
และกระเหรี่ยง ถางป่าทำไร่ จะเห็นได้จากบริเวณสองข้างทาง ขึ้นยอดดอยอินทนนท์
เป็นภูเขาหัวโล้น เกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นทิวทัศน์ ที่แตกต่างจากอุทยานฯ อื่นๆ
ป่าไม้ในเขตอุทยานฯ มีหลายชนิด ได้แก่ ป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ
มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เ***ยง มะเกลือ แดง
ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ตแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี
และกุหลาบป่า สำหรับ มอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
สัตว์ป่า ในบริเวณอุทยานฯ มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ
ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็น ที่อยู่อาศัยถูกถางลงมากมาย
ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันมีสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่
เลียงผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี ชะมด กะต่ายป่า และไก่ป่า



เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ

1. เส้นทางสายอ่างกา
เป้นเส้นทางที่มีความสำคัญมีเอกลักษณ์เฉพาะ ระยะทาง 360 เมตร ใช้เวลาเดินศึกษา
ธรรมชาติประมาณ 15 - 20 นาที เป็นลักษณะของป่าดิบเขาระดับสูง มีพรรณไม้เขตอบอุ่น
ผสมกับเขตร้อน ที่พบเฉพาะในระดับสูง เป็นแบบป่าโบราณ
มีพืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้มากมาย ตามพื้น จะพบพวกข้าวตอกฤๅษีเป็นบริเวณกว้าง
ในหน้าหนาวจะพบกุหลาบพันปี สีแดงสวย และได้ยินเสียงนกร้อง อยู่เป็นระยะๆ
มีความชุ่มชื้น และเป็นต้นกำเนิด ของสายน้ำแม่ปิง มีความหลากหลาย ทางชีวภาพและ
อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก


2. เส้นทางสายยอดดอย - น้ำตกสิริภูมิ
เป็นทางเดินระยะไกลประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชม. เหมาะสำหรับศึกษา
เรื่องความแตกต่างของพันธุ์ไม้ ในระดับความสูงที่แตกต่างกัน
ความหลากหลายของสังคมพืช การทดแทนของพันธุ์ไม้ ที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูสภาพป่า
การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง


3. เส้นทางสายกิ่วแม่ปาน
เป็นทางเดินป่าระยะสั้น ประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม.
เหมาะสำหรับเรื่องการศึกษาป่าดิบเขา ในระดับต่ำลงมา
สังคมทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นภายหลัง การทำลายสภาพป่าเดิม ลักษณะพืชเด่น
ตามเส้นทางเดิน ทิวทัศน์ของ หน้าผาที่สวยงาม ตลอดจน ลักษณะการเกิดผลกระทบ
ต่อเนื่องบริเวณรอยต่อ ระหว่างบริเวณรอยต่อ ระหว่างพื้นที่ป่าสมบูรณ์
กับพื้นที่ที่ถูกทำลาย หรือที่เรียกว่า EDGE EFFECT


4. เส้นทางสายน้ำตกแม่ปาน
เป็นทางระยะสั้นประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชม.
เหมาะสำหรับการศึกษาสภาพป่า ข้างลำธาร ความสำคัญของต้นน้ำ ชมน้ำตกตลอดการทาง


5. เส้นทางสายถ้ำบริจินดา
เป็นทางระยะสั้นใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ
สิ่งมีชีวิตในถ้ำ การเกิดหินงอกหินย้อย


6. เส้นทางสายสบหาด - บ้านแม่กลาง
ระยะทางประมาณ 900 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะกับการศึกษาในเรื่องของ
สังคมป่าเต็งรังผสมสน และชมน้ำตกตาดน้อย


7. เส้นทางสายผาแว่น - น้ำตกวชิรธาร
ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชม. เหมาะกับการศึกษาในเรื่องของ
สังคมป่าผสมผลัดใบ ความร่มรื่น ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร
และการทำเกษตรของชาวเขา


8. เส้นทางสาย กม.ที่ 38 - น้ำตกสิริภูมิ
เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล ประมาณ 5.5 กิโลเมตร. ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชม.
เหมาะสำหรับการดูนก ที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1500 เมตร


9. เส้นทางสายปางสมเด็จ - ผาหมอน
เป็นระยะทางไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชม.
เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่า โดยเฉพาะ และต้องการศึกษาเส้นทาง
สมัยที่ยังไม่มีถนน ตัดขึ้นดอยอินทนนท์
หมายเหตุ เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ในอุยานแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้
ต้องติดต่อขอคนนำทาง จากเจ้าหน้าที่อุทยาน ณ ที่ทำการเขต บริเวณหลักกิโลเมตร ที่
31 ก่อน






โดยคุณ Mapper [2004-07-08 18:11:38] Bookmark and Share



โดยคุณ Nick Mail to Nick [2006-01-22 10:50:54] #54 (1/1)

หินงอกหินย้อยเกิดได้อย่างไร


ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ
ความคิดเห็น
โดย
Email
ย่อหน้า ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา

คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
เลือกรูป ขนาดห้ามเกิน 50 K.

[ สมัครสมาชิก | ปิดหน้าต่างนี้ ]